ผลของความแตกต่างระหว่างเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว: การศึกษาเชิงพฤติกรรม

สุริยะ บุตรไธสงค์, เสรี ชัดแช้ม, พีร วงศ์อุปราช, ภัทราวดี มากมี

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการทดลองการมองคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ตอนต้น ช่วงอายุ 20-25 ปี จำนวน 80 คน จัดเข้ากลุ่มโดยวิธีสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 4 กลุ่มๆ ละ 20 คน ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ 2X2 factorial posttest design (between subjects) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการทดลองการมองคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น และมาตรวัดอารมณ์ความรู้สึกด้านการตื่นตัว (SAM Thai) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที และ Two-way ANOVA

ผลการวิจัยปรากฏว่า บุคลิกภาพที่แตกต่างกันส่งผลต่ออารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะตื่นเต้น แต่ไม่ส่งผลต่ออารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะสงบ กิจกรรมการทดลองการมองคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะตื่นเต้น สามารถกระตุ้นอารมณ์กลุ่มทดลองที่มีบุคลิกภาพเปิดเผยมากกว่าบุคลิกภาพกลางๆ ในทางตรงกันข้าม เพศที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่ออารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะสงบ และลักษณะตื่นเต้น และสุดท้าย ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเพศกับบุคลิกภาพต่ออารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ขณะมองคำภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว

คำสำคัญ: เพศ, บุคลิกภาพ, คำภาษาไทย, อารมณ์ด้านการตื่นตัว, การศึกษาเชิงพฤติกรรม

 

This research aims to study arousal emotion in young adults. There were 80 samples at the age of 20-25 years. The experimental group was divided into 4 experimental groups. This experimental research was designed by using 2X2 Factorial Posttest Design (Between Subjects). The tools used in this study were 1) an experimental activity to look at Thai arousal emotional words and 2) Sam Thai to measure arousal emotion. Data analysis was t-test and Two-way ANOVA.

The results were 1) different personality effects affect an excited emotion, but not for calm and neutral emotion. Thai words of excited emotion stimulated emotions in the experimental group with more extravert personality than the introvert personality. In the contrast, different sexes did not affect calm and excited emotion. Finally, there was no interaction between sex and personality toward arousal emotion in young adults.

Keywords: gender, personality, Thai Word, arousal emotion, behavioral study


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.30

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus