การพัฒนาระบบและกลไกการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

เพลินใจ โภชนกิจ, ปรีชา สามัคคี, ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

Abstract


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและสังเคราะห์ระบบและกลไกการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา 2) พัฒนาระบบและกลไกการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) ประเมินประสิทธิผลระบบและกลไกการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 12 มหาวิทยาลัยๆ ละ 3 คน รวมจำนวน 36 คน และผู้รับบริการของสถาบันอุดมศึกษา จำนวนมหาวิทยาลัย 8 แห่งๆ ละ 5 คน รวมจำนวน 40 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบประเมิน คู่มือระบบและกลไกการให้บริการสังคม แบบบันทึกผลก่อนและหลังการใช้ระบบและกลไกการให้บริการสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพระบบและกลไกการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา มี 6 ด้าน คือ 1) สาเหตุของความขัดแย้ง 2) การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง/การจัดการความขัดแย้ง 3) องค์ประกอบของระบบ 4) องค์ประกอบการให้บริการ 5) ขั้นตอนการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา 6) การมีส่วนร่วมของประชาชน และสภาพการดำเนินการบริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ภาคใต้มีผลจากการสอบถามผู้ปฏิบัติงานด้านบริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา พบว่า ด้านพหุวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยในระดับสูงสุด รองลงมา ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก และด้านความขัดแย้งและสันติภาพ มีค่าเฉลี่ยในระดับต่ำสุด และสภาพการรับบริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการสอบถามผู้รับบริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา พบว่า ด้านความต้องการและความพึงพอใจต่อการบริการสังคม มีค่าเฉลี่ยในระดับสูงสุด รองลงมา ด้านระบบกลไกการให้บริการสังคมมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง
2. ระบบและกลไกการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน คือ 1) แต่งตั้งคณะกรรมการการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา 2) ศึกษา สำรวจปัญหา ความต้องการรับบริการสังคมของชุมชน 3) พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการการให้บริการสังคม 4) การวางแผนการให้บริการสังคม 5) เตรียมการดำเนินงานตามแผน 6) การดำเนินการตามกิจกรรม 7) การกำกับ ดูแล ติดตามผลการดำเนินการ 8) การประเมินผล 9) การปรับปรุง พัฒนาระบบและกลไกการให้บริการสังคม 10) ผดุงระบบและกลไกการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา โดยแต่ละขั้นตอนประกอบด้วยกลไก แนวทางปฏิบัติตามกลไก การประเมินผลและเกณฑ์การประเมิน
3. ประสิทธิภาพของระบบและกลไกการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีค่า IOC=0.96 สภาพหลังการทดลองใช้มีสภาพดีกว่าก่อนการทดลองใช้ โดยมีความเป็นระบบชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนความคิดเห็นของผู้ทดลองใช้โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X=4.86) คือ ด้านผดุงระบบและกลไก
การให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา มีค่าเฉลี่ยรองลงมา (X=4.69) คือ ด้านการประเมินผล และด้านพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (X=4.11)
4. ประสิทธิผลของระบบและกลไกการให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังการใช้ระบบและกลไกการให้บริการสังคม พบว่ามีความเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ตรงประเด็น มีกิจกรรมที่เหมาะสม โดยมีการประเมินความเหมาะสม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยมาก (X=3.98) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบริบท (context) การให้บริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (X=4.54) รองลงมาด้านปัจจัยนำเข้า (input) ของการให้บริการสังคม มีค่าเฉลี่ย (X=4.35) และด้านผลผลิต (product) ของการให้บริการสังคม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (X=3.53)

คำสำคัญ: ระบบและกลไก, การพัฒนาระบบและกลไก, การบริการสังคม

 

This research is a research and development project which aims to: 1) study and synthesize the systems and mechanisms of social engagement of higher education institutions; 2) develop the systems and mechanisms of social engagement of higher education institutions in southern border provinces of Thailand, and 3) evaluate the effectiveness of the systems and mechanisms of social engagement of higher education institutions. Research participants (or samples) were selected from 12 universities’ staff who take responsibility on social engagement (3 people in each university, 36 people in totals) and 40 stakeholders who have used the service (selected from 8 universities, 5 people in each university). The research methods were synthesis of documents, questionnaire, assessment form, system manual and social engagement mechanism, results record before and after using the system and mechanisms of social engagement. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.

Research findings:
1.    There are 6 aspects of the systems and mechanisms of the higher education institutes’ social engagement: 1) roots of the conflict, 2) conflict resolution/conflict management, 3) system components, 4) service elements, 5) process of the higher education institutes’ social services, 6) partners’ and stakeholders’ participation.  And the status of social engagement of higher education institutions in southern region from the universities’s staffs shows that multicultural aspect was the highest average level .Community participation is the second high average level, while conflict and peace was the lowest average level. The status of social engagement from universities’ services clients shows that needs and satisfaction is the highest average level and mechanism of social engagement system was moderate level.
2. Systems and mechanisms of social engagement of higher education institutions in southern border provinces consists of 10 steps:1) appointing the social engagement committee of higher education institution; 2) studying and exploring community needs of social engagement; 3) developing the potential of the social engagement committee of the higher education institute; 4 ) making plan for social engagement; 5) preparing the plan to implementation; 6) implementing the activities; 7) monitoring the results; 8) assessing the outcomes; 9) improving and developing the mechanisms of social engagement of higher education institutions; and 10) maintaining the system and mechanism of social engagement of higher education institutions. Every steps combine mechanism and its practical guidelines, evaluation and its criteria.
3. The overall efficiency of the systems and mechanisms of social engagement of higher education institutions, in southern border provinces found the IOC=0.96, the condition was better than previous experiment as it was more systematic and clearer. The opinion of the system’s users was high average level. When considering each aspect, findings found that the highest mean were the maintenance system (X=4.86) and the social engagement mechanism of higher education institutions (X=4.69). The lowest average mean were the assessment and the potential development of the social engagement committee of higher education institution (X=4.11).
4. The overall of effectiveness of social engagement systems and mechanisms of higher education institutions in southern border provinces after using systems and mechanisms on social engagement of the higher education institutes has found that the system became more systematic and relevant. The activities were suitable with appropriate evaluation was high average level (X=3.98). When considering each aspect, findings found that the context of social engagement of higher education institutions was highest average level (X=4.54), followed by the input of social engagement (X=4.35) and the product of the social engagement was the lowest average (X=3.53).

Keywords: systems and mechanisms, system and mechanism development, social engagement


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.25

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus