การบริหารที่ดินวะกัฟในเขตกรุงเทพมหานครให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สุกุลพัฒน์ คุ้มไพศาล, นดา ศรีสะอาด

Abstract


การวะกัฟที่ดินเป็นการบริจาคที่ดินที่ผู้รับบริจาคได้รับประโยชน์ในผลผลิตหรือรายได้จากที่ดินนั้น โดยคงไว้ซึ่งสภาพดั้งเดิมของที่ดิน โดยที่ดินเป็นทรัพย์สินถาวรที่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต เมื่อการวะกัฟมีผลบังคับใช้ ที่ดินวะกัฟถือว่าไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของซื้อขายไม่ได้ และต้องบริหารให้เกิดประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้วะกัฟ ปัจจุบันองค์กรมัสยิดในกรุงเทพมหานครมีที่ดินวะกัฟจำนวนมากที่มีศักยภาพสูงแต่ยังไม่ถูกพัฒนา เนื่องจากปัญหาสำคัญบนที่ดินวะกัฟหลายประการ เช่น กรรมสิทธิ์ครอบครองไม่ชัดเจน การขาดความรู้ในการลงทุน เป็นต้น การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ ปัญหาที่มีต่อการบริหารจัดการที่ดินวะกัฟ และเสนอแนะแนวทางการบริหารที่ดินวะกัฟให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารที่ดินวะกัฟขององค์กรมัสยิดในพื้นที่เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง และเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 7 แห่ง จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ที่ดินวะกัฟสามารถใช้ประโยชน์ได้ 2 กรณี คือ การใช้ประโยชน์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่มัสยิด อาทิ การใช้ประโยชน์ทางศาสนาหรือการศึกษาศาสนาอิสลาม การใช้ประโยชน์ในทางสังคม เป็นต้น และการใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดรายได้แก่มัสยิด อาทิ การให้เช่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย การให้เช่าเพื่อประกอบธุรกิจ การให้หน่วยงานราชการเช่า การก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์อยู่อาศัย การให้บริการพื้นที่จอดรถ การทำศูนย์อาหารฮาลาลหรือตลาดชุมชน เป็นต้น ปัญหาหลักของการบริหารที่ดินวะกัฟ คือ ขาดองค์ความรู้ด้านการบริหารที่ดิน การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ บทบัญญัติศาสนาอิสลาม กฎหมายที่ดินไทย และแหล่งเงินทุน รวมถึงปัญหาอื่น เช่น ศักยภาพที่ดิน การครอบครองที่ดินวะกัฟ การประพฤติผิดบทบัญญัติศาสนาของผู้เช่าที่ดินวะกัฟ เป็นต้น ผู้บริหารหรือคณะกรรมการองค์กรมัสยิดควรกำหนดแนวทางในการพัฒนาและการบริหารที่ดินวะกัฟ โดยผสานความรู้ทางบทบัญญัติอิสลาม แนวทางการลงทุน และการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินวะกัฟ

คำสำคัญ: การวะกัฟ, การบริหารที่ดินวะกัฟ, การใช้ประโยชน์สูงสุดและดีที่สุด, การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินวะกัฟ

 

Waqf Land is a donation of land that maintaining the original status of the properties and get use of its products or incomes from that properties. Land is the asset that tangible and generating income to the owners. In the case that Waqf status is mentioned, that land is regarded as no owner, could not be traded, and need to be developed in order to use according to the willingness of the donor. In the present time, the mosques’ organization in Bangkok currently gathering lots of Waqf lands, those plots have high potentials, but yet developed, which cause problems such as uncertain ownership, lack of investment knowledge. This research aims to study the critical issues in developing the Waqf lands and to recommend the land management plan that suit with the highest and best use concept by employing the semi-structured interviews with 7 Mosques management officers of the case studies.

The results point that the critical issue of managing Waqf lands is a lack of integration between the related knowledge, which are land management, real estate development concepts, Islamic doctrines, Thailand’s land legislation, and sources of development funds. Moreover, there are related problems to the development of Waqf lands, such as some lands lacks of development potentials, misunderstanding of ownership, using the land in the non-Islamic norms. The Waqf managers or the Islamic Mosque Committee shall determine the Waqf lands management regulations along with an integration of Islamic regulations, investment analysis, and highest and best use concept in developing the upcoming projects on their Waqf Lands.

Keywords: Waqf, Waqf land management, Highest and Best Use (HBU), project feasibility study on Waqf lands


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.38

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus