รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15

ชวลิต เกิดทิพย์, วรภาคย์ ไมตรีพันธ์, สุดารัตน์ พรหมแก้ว, บรรจง ฟ้ารุ่งสาง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมและเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 จำนวน 480 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .988 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และระยะที่ 2 วิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสนทนากลุ่ม มีผู้ร่วมสนทนากลุ่ม 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 มี 5 องค์ประกอบ คือ (1) การแสดงออกทางจริยธรรมบนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรม (2) การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้เรียน (3) การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (4) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน และ (5) การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 ประกอบด้วย 22 ตัวชี้วัด และ 14 กิจกรรม

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำ, พหุวัฒนธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

 

The aims of this research were to analyze the factors of multicultural leadership and propose the multicultural leadership development model for school administrators under the Secondary Education Service Area Office XV. There were 2 phases for this research. The first phase used a quantitative methodology, which was an exploratory factor analysis. The samples were 480 school administrators. The data instrument was a five rating scale questionnaire. The reliability was 0.988.The second phase used a qualitative methodology, conducting a focus group with 10 participants and analyzing data by using content analysis.

The results were summarized as follows: First, multicultural leadership consists of five dimensions including 1) an expression of ethics on the basis of diversity; 2) a promotion of teaching and learning emphasizing its acceptability in diversity of learners; 3) an advocacy of school personnel’s knowledge and understanding about cultural diversity; 4) an enhancement of relationship with the community; and 5) an integration of cultural diversity into school curriculum. Second, the model of multicultural leadership development for school administrators under the secondary education service area office XV including 22 indicators, four learning units, and 14 activities.

Keywords: leadership, multicultural, school administrators, Secondary Education Service Area Office


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.24

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus