การพัฒนารูปแบบตัวอักษรไทยเพื่อสื่อสารในสังคมพหุวัฒนธรรมของสามจังหวัดชายแดนใต้
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์จากวัฒนธรรมทางสายตาของสามจังหวัดชายแดนใต้เพื่อใช้ในการออกแบบ วิเคราะห์แนวทางการพัฒนารูปแบบตัวอักษรไทย เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ของสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่สามารถใช้ในการสื่อสาร และสะท้อนความเฉพาะตัวของสามจังหวัดชายแดนใต้
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบตัวอักษรไทยเพื่อสื่อสารในสังคมพหุวัฒนธรรมของสามจังหวัดชายแดนใต้” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการและลักษณะของการสื่อสารด้านการมองเห็น (visual communication) ปัจจัยทางวัฒนธรรมทางการมองเห็น อัตลักษณ์สามจังหวัดชายแดนใต้ที่ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารของชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ 2) เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบตัวอักษรที่มีรูปแบบเฉพาะตัวของความเป็นพหุวัฒนธรรมในพื้นที่สามจังหวัด และสามารถใช้ในการสื่อสารเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ต้องการสื่อกับประชาชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม ใช้พื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เป็นพื้นที่ในการดำเนินการ ผลของการวิจัยซึ่งเป็นแนวทางในการออกแบบตัวอักษร วิเคราะห์และประเมินผลการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และผู้นำทางศาสนาในพื้นที่ เพื่อให้งานพัฒนารูปแบบตัวอักษรเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่
ผลการวิจัยเป็นรูปแบบตัวอักษรไทยที่มีรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งพัฒนาจากวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายของสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยอาศัยวิธีการเขียนที่มีความต่างกันของแต่ละกลุ่มวัฒนธรรมเชื่อมโยงด้วยรูปแบบตัวอักษรไทย เป็นทางเลือกหนึ่งของนักออกแบบที่ต้องการนำไปใช้ในงานออกแบบที่สะท้อนอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมต่างๆ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป
คำสำคัญ: รูปแบบตัวอักษร, กราฟิก, วัฒนธรรม, วัฒนธรรมทางสายตา, สามจังหวัดชายแดนใต้
The purposes of this study are: 1) To study the process of visual communication, the visual communication factors and the local identity that affect the communication styles of the Buddhist, Muslim, and Chinese people in the three southern border provinces, 2) To develop the design models of Thai character forms that reflect the unique identity of multicultural society in the three southern border provinces. The design would be beneficial to the peace development process in the area as well.
The research has been conducted in the three border provinces of Pattani, Yala and Narathiwat. The resulted characters design models have been analysed and evaluated by the experts in various fields including the culture experts, the design experts, and the religious leaders in the area in order that the development of character styles be approved by all local parties.
The output of the research are the newly designed Thai characters which are unique and developed from the multi-cultures in the three southern border provinces. It would provide an alternative for designers to reflect the identity and the uniqueness of the three southern border provinces.
Keywords: character forms, graphics, culture, visual culture, three southern border provinces
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.22
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus