ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับเศรษฐกิจชุมชนที่นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์, ชิดชนก เชิงเชาว์, เกษตรชัย และหีม

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับเศรษฐกิจชุมชน และ 2) ภาวะผู้นำกับเศรษฐกิจชุมชนที่นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน วิธีการเชิงปริมาณเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามจากประชาชนที่อาศัยในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา กำหนดขนาดตัวอย่างจากความเพียงพอของการวิเคราะห์ข้อมูล ได้กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ตำบลท่าหิน 200 คน และตำบลคูขุด 200 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ พบว่า มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเป็นรายข้อตั้งแต่ .78 ขึ้นไป มีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรวมของทุกข้อคำถามเป็นรายข้อตั้งแต่ .30 ขึ้นไป มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ Correlation ส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม สังเกต และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการนำข้อมูลมาจำแนกหมวดหมู่ตามประเด็น ตีความ สร้างข้อสรุป นำเสนอด้วยวิธีพรรณนาเชิงวิเคราะห์

ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับเศรษฐกิจชุมชน พบว่า ภาวะผู้นำโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเศรษฐกิจชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (r=.593) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ภาวะผู้นำทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเศรษฐกิจชุมชนอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาวะผู้นำด้านบริหารงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเศรษฐกิจชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (r=.576) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนภาวะผู้นำด้านบริหารสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเศรษฐกิจชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (r=.516) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาวะผู้นำด้านบริหารตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเศรษฐกิจชุมชนอยู่ในระดับต่ำ (r=.493) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ 2) ภาวะผู้นำกับเศรษฐกิจชุมชนที่นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชน พบว่า ด้านการดำเนินกิจกรรมการผลิต ผู้นำมีการขับเคลื่อนวิถีผลิตโหนด-นา-เล ดำเนินกิจกรรมการผลิตตามหลักชุมชนพึ่งตนเอง ด้านกิจกรรมกลุ่มผู้นำมีการขับเคลื่อนให้ชุมชนจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการทำนา ขึ้นตาลโตนด และการทำประมง ผ่านศูนย์เรียนรู้วิถีโหนด-นา-เล ผู้นำกลุ่มเศรษฐกิจชุมชนมีการบริหารจัดการกลุ่ม และองค์กรชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนด้านกิจกรรมเศรษฐกิจที่ส่งเสริมคุณธรรมชุมชน พบว่า ผู้นำชุมชนได้มีการขับเคลื่อนให้เกิดกลุ่มสวัสดิการชุมชน และการจัดสรรน้ำในระบบการผลิตอย่างเป็นธรรม เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชน

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำ, เศรษฐกิจชุมชน, ชุมชนเข้มแข็ง

 

This study aimed to study 1) the relationship between leadership and community economy and 2) leadership and community economy leading to community strengthening. Use the mixed method, quantitative research was conducted using questionnaires from people living in Sathing Phra District, Songkhla Province, by specifying sample size from the adequacy of data analysis. The samples were 200 people in Tha Hin Sub-district and 200 people in Khu Khut Sub-district. There were 400 people using multi-stage sampling method. The quality of the instrument was evaluated with the content validity index from .78 and above. The coefficient of correlation between the total score of all items was 0.30 and the reliability was 0.70. The data analysis with correlation coefficient. Data were gathered from related literature and through observations and in-depth interviews with 14 key informants. Analyze the data by classifying the data by interpretation, constructing the conclusions presented by analytical descriptive method.

The research findings were as follows: 1) The relationship between leadership and the community economy was found to be positively correlated with the community economy at a medium level (r=.593) at the .01 level of significance. Leadership in all aspects was positively correlated with the community economy at a low level to a medium level, at the .01 level of significance. Leadership in management was positively correlated with the community economy at a medium level (r=.576) at the .01 level of significance. Leadership in social administration was positively correlated with the community economy at a medium level (r=.516) at the .01 level of significance and self-management leadership positively correlated with community economy at a low level (r=.493) at the .01 level of significance, respectively. 2) Leadership and community economy leading to community empowerment found that leadership activities were driven by mixed farming practices and self-reliant activities. In the group activities, leaders have driven the community to set up processing groups, from farming, to palm planting, and fishery through the Node-Na-Lay Learning Center and Sufficiency Economy Learning Center. Implementation of community economic activities revealed that leaders had effective group management. In terms of economic activity that promotes community morality, community leaders have driven the community welfare and water allocation in the production system fairly to lead to strengthening the community.

Keywords: leadership, community economy, strengthening community


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.47

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus