ปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ

ปิยะนุช พรหมประเสริฐ, ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าระดับของคุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) ศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์การของบุคลากรกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ บุคลากรกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 2,952 คน สามารถกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 341 คน จากสูตรการคำนวณของเครซี่ เมอร์แกน วิธีการสุ่มใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามสถานภาพ และประเภทบุคลากร ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ด้านสิ่งตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านประชาธิปไตยในองค์การ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว และด้านความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อสังคม ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยด้านความผูกพันต่อองค์การ ความผูกพันด้านคงอยู่กับองค์การ และความผูกพันบรรทัดฐาน ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ด้านพฤติกรรมความช่วยเหลือที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง

 

This research has three main objectives. 1) to study the level of quality of working life, organizational commitment, organizational citizenship behaviors of Rajabhat Universities, classified by personal factors 2) to study the quality of working life and organizational commitment affecting the organizational citizenship behaviors of the personnel of Rajabhat Universities and 3) to study the organizational citizenship behaviors affecting organizational performance of Rajabhat Universities. The survey methodology has been applied to this study. The number of population was 2,953 who were in the lower Northern Rajabhat Universities. The sample size included 341 persons, by applying the formula of Krejcie and Morgan. The research also applied a stratified sampling method. The research instrument was a questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis. The research found that: 1) The personal factors classified by status and type of personnel affected the organizational citizenship behaviors; the difference was statistically significant at the level of .05. 2) the quality of working Lifefactors adequate and fair compensation, future opportunity for continued growth and security, social integration in the work organization, constitutionalism in the work organization, work and the total life space and the social relevance of the work life, affected the organizational citizenship behaviors of the personnel at a statistical significant difference at .05 level. 3) the organizational commitment factors, Continuance Commitment and Normative Commitment affected the organizational citizenship behaviors. The difference was statistically significant at the level of .05. 4) The factors of organizational citizenship behaviors and altruism affected the performance. The difference was statistically significant at the level of .05.

Keywords: quality of work life, organizational commitment, organizational citizenship behavior, performance efficiency, The lower Northern Rajabhat Universities


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.34

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus