การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อออกแบบฐานข้อมูลคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดปัตตานี

อภิรดี สรวิสูตร, อัญญ์ณิชตา รุ่งวิชานิวัฒน์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและคัดเลือกตัวชี้วัดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ครอบคลุมมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากนั้นนำตัวแปรที่ผ่านการคัดเลือกมาออกแบบฐานข้อมูลคุณภาพชีวิต โดยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของหน่วยงานราชการที่สืบค้นได้ทางอินเทอร์เน็ตและจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมรวม 73 ตัวแปร จากนั้นนำตัวแปรมาคัดเลือกตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต 2 วิธี คือ การวิเคราะห์การถดถอยและการวิเคราะห์องค์ประกอบ

ผลการคัดเลือกตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยทั้งหมด 11 โมเดล โดยโมเดลที่ 11 มีตัวแปรทั้งหมด 11 ตัวแปร และมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) มากที่สุด คือ 0.739 ส่วนการคัดเลือกตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบได้องค์ประกอบมา 2 องค์ประกอบซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 81.16 ประกอบด้วยตัวแปรทั้งหมด 16 ตัวแปร แบ่งเป็นองค์ประกอบที่ 1 เป็นเรื่อง สุขภาพและที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย 10 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 เป็นเรื่อง การศึกษา รายได้ และปัญหาครอบครัว ประกอบด้วย 6 ตัวแปร

การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตสอบถามจากประชาชนอายุ 15-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี จำนวน 303 คน โดยใช้เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตองค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย พบว่า องค์ประกอบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายของกลุ่มตัวอย่างทุกอำเภออยู่ในระดับปานกลาง ด้านจิตใจมี 7 อำเภออยู่ในระดับดี และ 5 อำเภออยู่ในระดับปานกลาง ด้านสัมพันธภาพทางสังคมมี 3 อำเภออยู่ในระดับดี และ 9 อำเภออยู่ในระดับปานกลาง ด้านสิ่งแวดล้อมทุกอำเภออยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณาภาพรวมของทั้งจังหวัด พบว่า มีเพียงอำเภอไม้แก่นและอำเภอยะรังที่มีระดับคุณภาพชีวิตดี ส่วนอีก 10 อำเภอมีระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง

หลังจากนำตัวแปรที่ผ่านการคัดเลือกตัวชี้วัดด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอย และการวิเคราะห์องค์ประกอบแล้วมาหาความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตที่ได้จากแบบสอบถาม พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) ของตัวแปรที่ได้จากการวิเคราะห์การถดถอย=0.532 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) ของตัวแปรที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ=0.821 จากนั้นนำตัวแปรทั้ง 16 ตัวแปรที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบไปออกแบบฐานข้อมูลคุณภาพชีวิต โดยได้ออกแบบฐานข้อมูลคุณภาพชีวิตประกอบด้วย ข้อมูลหมู่บ้านครัวเรือน สมาชิกในครัวเรือน สุขภาพ ที่อยู่อาศัย และปัญหาสตรี เด็ก และเยาวชน

คำสำคัญ: ฐานข้อมูลคุณภาพชีวิต, การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ปัตตานี

 

The purposes of this research were to study and select quality of life index which included economic, social, and environmental aspects in order to design quality of life database based on the selected variables. The study process consisted of collecting the quality of life index information retrieved from websites of government sectors and satellite data, which comprised of 73 variables, and selecting quality of life index through regression analysis and factor analysis.

Based on the regression analysis, 11 models of life quality index were obtained. The 11th model had 11 variables with the highest R2 at 0.739. At the meantime, the regression analysis of selected quality of life index discovered 2 components that explained 81.16% of variance and had 16 variables. The first component composed of 10 variables concerning health and housing. The second component covered 6 variables involving education, income, and family’s problems.

The quality of life were analysis from the questionnaire responded by 303 samples in the 15-to-60 age group in Pattani via the use of by WHOQOL-BREF-THAI showed moderate level of physical health aspect of the samples from all districts. 7 districts had a good level of mental health, while 5 districts were at a moderate level. Regarding social relation aspect, 3 districts were at a good level, while that of 9 districts was at moderate level. All districts were placed at a moderate level in terms of environmental aspect. The overall provincial consideration signified that quality of life in Mai Kean and Yarang districts were at a good level, while the other 10 remained moderate.

The findings from the analysis of selected variables through regression and factor analyses in relation to the level of quality of life from the questionnaire indicated that R2 value from regression analysis and questionnaire analysis was 0.532, while the R2 value from factor analysis and questionnaire analysis was 0.821. The 16 variables from factor analysis were therefore used in designing quality of life database which presenting data of village, household residents, health, housing and women, children and youth problems.

Keywords: life quality database, application of Geographic Information System, Pattani


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.12

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus