ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4
ปีการศึกษา 2559 จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเรื่องความรู้และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในระดับมากที่สุดและมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในระดับดี และ พบว่า ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4 ปัจจัย ดังต่อไปนี้ คือ เพศ ชั้นปีการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ และการรับรู้ภาวะสุขภาพ การมีนโยบายสร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม และการได้รับคำแนะนำและข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและอุปสรรคที่สำคัญ คือ การไม่มีเวลา จึงควรจัดให้บูรณาการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพกับการลงทะเบียนเรียนในทุกๆ ภาคการศึกษา
คำสำคัญ: พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, นักศึกษา
The purpose of this survey research was 1) to study the level of knowledge and health promoting behaviors of undergraduate students in Prince of Songkla University, Pattani Campus and 2) to study factors related to health promoting behaviors of undergraduate students in Prince of Songkla University, Pattani Campus. The sample consisted of 400 students’ year1-4 for the 2016 academic year by using stratified random sampling. Data were collected by using health promotion behavior questionnaires and a semi structure interview. Data were analyzed using statistical method comprising frequency, percentage, mean and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. Content analysis was used to analytic interview data.
The results revealed that the overall health promoting knowledge at the highest level and the overall mean health promotion behavior of the undergraduate students was good level. In addition, predisposing factors, reinforcing factors and enabling factors statistically related to health promoting behavior were 4 factors comprising of gender, academic year, health promoting knowledge, and perceive health status. Moreover, the policy of health promotion, receiving of information of health from various sources influences to health promoting behavior. However the major barrier of health promoting behavior was lack of time; integration health promotion activities with enrollment in semester is recommended.
Keywords: Health promotion behavior, Undergraduate student
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.54
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus