ห่วงโซ่มูลค่าเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC)

จันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์, ทักษญา สง่าโยธิน

Abstract


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่มูลค่าเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจงประธานกลุ่ม ที่ปรึกษา และสมาชิกกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) จำนวน 17 ตัวอย่าง เพื่อสัมภาษณ์แนวคิดโดยอิงทฤษฎีห่วงโซ่มูลค่าและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นจึงนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาจัดทำตารางสังเคราะห์เพื่อหาความถี่ของความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการดำเนินกิจกรรมธุรกิจตามทฤษฎีห่วงโซ่มูลค่า การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน และสังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ในส่วนของกิจกรรมธุรกิจตามแนวคิดห่วงโซ่มูลค่านั้นกลุ่มตัวอย่างได้เสนอหลักการ/แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนภายใต้ กิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 5 กิจกรรม รวมถึงแนวคิดในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนส่วนของการสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้วิสาหกิจชุมชนประสบความสำเร็จเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับแรก ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนควรมีแนวคิดแปลกใหม่ มีเอกลักษณ์ วิสาหกิจชุมชนควรมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่าย ผู้นำของวิสาหกิจชุมชนควรเป็นผู้มีวิสัยทัศน์และเสียสละเป็นแบบอย่างที่ดีกับสมาชิก วิสาหกิจชุมชนควรเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกรู้จักการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และใช้วัตถุดิบ ทรัพยากรการผลิตที่เป็นของท้องถิ่นมากกว่าทรัพยากรจากภายนอก ตามลำดับ ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายพบว่าหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ควรมีการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการและต่อเนื่อง ควรส่งเสริมให้กลุ่มฯ มีความรู้ในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภาครัฐควรทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างหน่วยงานต่างๆ ควรมีรายวิชา และ/หรือหลักสูตร สอนวิธีคิดแบบผู้ประกอบการ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ พบว่า ผู้นำมีความสำคัญมาก วิสาหกิจชุมชนควรเริ่มจากความต้องการของสมาชิก มีโครงสร้างบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ กฎเกณฑ์และระเบียบชัดเจน มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ มีการทำงานอย่างเป็นระบบและมีแผนการสืบทอดวิสาหกิจชุมชนมีการเชื่อมโยงกันเองทั้งภายในพื้นที่เดียวกันและต่างพื้นที่ ควรเน้นการสร้างความแตกต่างเพื่อดึงดูดผู้บริโภคข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการดำเนินการวิจัยเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแบบแยกประเภท เพื่อให้เห็นผลการวิจัยในแต่ละรูปแบบอย่างชัดเจน

คำสำคัญ: ห่วงโซ่มูลค่า, วิสาหกิจชุมชน, ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC)

 

This study is a qualitative research; the purpose is to investigate value chain of young entrepreneur group to be the sustainable community enterprises. The instrument is a semi-structured interview questions. The in-depth interview conducts by using purposive sampling method.The sample group is the young entrepreneur administrator such as president, adviser, and member of the YEC group, totally 17 samples. The interview conducts by the concept of the sustainable development model based on the value chain theory and the sustainable economy philosophy. Afterwards, the data were analyzed and synthesized to table to illustrate the frequencies of the sample group. The implementation of the enterprises goal is to find which the factors are affecting to the community enterprise success. The research results are as follows: On the aspect of the enterprise activities based on the value chain theory, the sample group propose the performance enterprise should be consisting with five primary activities and five supporting activities, with all enterprises’ activities and the concepts of the sample group applies to the sustainable development model. For the synthesis of the factors affecting the community enterprise success, five factors werefound in this study in order from major to minor by effecting size respectively. First, the community enterprises should have distinctiveor unique ideas; Second, the community enterprises should combine each other as a group within community to beconnection network; Third, the community enterprise’s leaders should have visions and scarified as role model for members; Fourth, the community enterprises should focus on the members’ participation, know how to apply the local wisdom,adapt with modern technology: Fifth,the community enterprises should use raw materials in local resources which is available on the inside rather than those available on the outside. For policy suggestions, the organizations that are in charge to supporting the community enterprises should be linked to working together through integration and continuously. Moreover, that organization should provide them with innovation and technology knowledge. The government sector should serve as a linkage between different organizations. The course and curriculum that train an entrepreneur should create for changing mindset. For practical suggestions, have found the importance of the leadership, and the community enterprises should begin with members’ needs with the clear structure of roles, duties, responsibilities, criteria, and regulations. There should have meeting agenda regularly, systematic workproceedings and succession planning for the community enterprises. In additional, the community enterprises should connected within the same and different part of areas, emphasis on the concept of making differentiate strategy to attract consumers. For further research suggestion, the next research on community enterprises should be separated into many type of business for concentration on each business individually and explicitly.

Keywords: value chain, community enterprise, Young Entrepreneurs Chamber of Commerce (YEC)


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.10

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus