การตรวจสอบความตรงของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาโดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับศาสตร์ทางประสาทวิทยาศาสตร์

พิญญารัศม์ สิงหะ, สุมาลี ชัยเจริญ

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหา โดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับศาสตร์ทางประสาทวิทยาศาสตร์ รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยโมเดล ระยะที่ 2 การตรวจสอบความตรงของโมเดล ซึ่งแบ่งออกเป็นความตรงภายใน เพื่อตรวจสอบความตรงภายในขององค์ประกอบต่างๆ ของโมเดล โดยใช้การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ และความตรงภายนอก เพื่อศึกษาผลกระทบของโมเดล โดยการนำโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายฯ ที่ผ่านการใช้ในระยะที่ 1 มาใช้กับกลุ่มเป้าหมายในบริบทที่ใกล้เคียงเพื่อยืนยันคุณภาพของโมเดล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โปรโตคอล สรุปตีความ และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) มีความตรงภายใน ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบโมเดล มีคุณภาพและมีความเหมาะสมสอดคล้องกับหลักการทฤษฎีและกรอบแนวคิดในทุกองค์ประกอบ 2) มีความตรงภายนอก ซึ่งแสดงได้จากผลกระทบของรูปแบบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน คือ (1) การแก้ปัญหาของผู้เรียนโดยการวิเคราะห์โปรโตคอล พบว่า ผู้เรียนมีการแก้ปัญหา 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ผู้เรียนระบุช่องว่างของปัญหา ขั้นที่ 2 การระบุและอธิบายปัญหาที่แท้จริงว่าคืออะไร และเกิดจากอะไร ขั้นที่ 3 การสร้างแนวทางที่เป็นไปได้ ขั้นที่ 4 การประเมินความเป็นไปได้ของการนำทางเลือกไปปฏิบัติโดยการสร้างข้อโต้แย้งและกล่าวออกมา ขั้นที่ 5 นำแนวทางการแก้ปัญหาไปใช้ ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงการนำแนวทางการแก้ปัญหาไปใช้จริง และ ขั้นที่ 6 ปรับแนวทางการแก้ปัญหา (2) การแก้ปัญหาของผู้เรียนโดยทำการวัดและประเมิน executive functions โดยใช้การทดสอบ Tower of Hanoi พบว่า การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งและเวลาที่ย้ายแผ่นจานหลังเรียนดีกว่าก่อนเรียน แสดงว่าหลังเรียนผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น 3) ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการเรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายฯ ทั้งในด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบโมเดล พบว่า มีความเหมาะสมและช่วยส่งเสริมการสร้างความรู้และการแก้ปัญหา และ 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายฯ พบว่า นักเรียนร้อยละ 82.61 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีค่าคะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 75.22 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ นักเรียนร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70

คำสำคัญ: การแก้ปัญหา, การคิดเชิงบริหาร, โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์, ศาสตร์การสอน, ประสาทวิทยาศาสตร์

 

The purposes of this research are to examine the internal validation and the external validation of the constructivist web-based learning environment model to enhance problem solving: Integration of pedagogy and neuroscience. The model research: model validation was employed in this study. The results from the model validation were revealed as follows. Firstly, The internal had 3 aspects of media, content and design models there is quality and appropriate in accordance with the theories and concepts in all elements. Secondly, for the external validation, 1) the problem solving of student learning with the constructivist learning environment model from the interview results found that the students’problem solving consisted of 6 processes: (1) the learners identified problem space and contextual constraints, (2) the learners identified and clarified the real problems and the causes of problems, (3) the learners generated variety of possible problem solutions, (4) the learners assessed the viability of alternative solutions by constructing arguments and articulating, (5) the learners implemented the solution for solving the problems, and (6) the learners adapted the solution 2) the problem solving of student learning with the constructivist learning environment model from measuring and evaluation of executive functions by using Tower of Hanoi showed the means of students’ problem solving after learning with the constructivist learning environment model was better than before they learned. 3) The students opinions toward the constructivist learning environment model showed that the design and development were appropriated in all aspects such as learning contents, Web-based learning environment, the design and development of the constructivist learning environment model and help supporting and encouraging the knowledge construction and problem solving of the students and The student learning with environment model on web-based achievement. Students 82.61 percent has the post-test average 75.22 percent which was higher than the prescribe are 70 percent and they’re achievement passed the criterion.

Keywords: problem solving, Executive Functions, Constructivist Web-Based Learning Environments Model, pedagogy, neuroscience


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.3

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus