กระบวนการตัดสินใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ปรัชญนันท์ นิลสุข, จิระ จิตสุภา

Abstract


การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2/2555 ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 157 คน แบ่งออกเป็นนักเรียนสาขาการบัญชี จำนวน 56 คน สาขาการขาย จำนวน 17 คน และสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 84 คน ตอบแบบวัดกระบวนการตัดสินใจของนักเรียนในสองลักษณะ คือ กระบวนการตัดสินใจแบบมีหลักการ (Rational) กับกระบวนการตัดสินใจแบบประสบการณ์ (Experience) จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way Analysis of Variance: ANOVA) และการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ รองลงมาเป็นสาขาการบัญชี และสาขาการขาย ตามลำดับ โดยนักเรียนทั้งสามสาขามีผลรวมของกระบวนการตัดสินใจแบบมีหลักการและแบบประสบการณ์อยู่ในระดับมาก 
ผลการเปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจแบบประสบการณ์ของนักเรียน พบว่า นักเรียนสาขาการบัญชี มีกระบวนการตัดสินใจแบบประสบการณ์แตกต่างจากนักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนสาขาการบัญชีมีค่าเฉลี่ยกระบวนการตัดสินใจแบบประสบการณ์สูงกว่านักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ผลการเปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจแบบมีหลักการของนักเรียน พบว่า นักเรียนสาขาการบัญชีและสาขาการขาย มีกระบวนการตัดสินใจแบบมีหลักการแตกต่างจากนักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนสาขาการบัญชีและสาขาการขายมีค่าเฉลี่ยกระบวนการตัดสินใจแบบมีหลักการสูงกว่านักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ข้อค้นพบจากการวิจัย คือ นักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจควรได้รับการส่งเสริมให้มีกระบวนการตัดสินใจทั้งสองแบบ คือ แบบมีหลักการและแบบประสบการณ์ให้มากขึ้น เนื่องจากมีกระบวนการตัดสินใจตํ่ากว่านักเรียนสาขาการบัญชีและสาขาการขาย โดยผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจอย่างจริงจังผ่านรายวิชาด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์และการออกแบบระบบ การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เนื่องจากรายวิชาดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมกระบวนการตัดสินใจของนักเรียนคอมพิวเตอร์ธุรกิจให้มากขึ้นได้

The study of decision making process of computer business students in vocational certificate level was arranged with 157 vocational certificate level students at Mubankru Technological College, academic year 2/2555 B.E. by simple random sampling which divided into 56 students in accounting, 17 students in Marketing and 84 students in business computer. The research tool is 20 items of decision making was applied to evaluate students’ rational and experience decision making. The data were analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean average, standard deviation, one way analysis of variance (ANOVA) and Scheffe’s pair difference analysis. The study results revealed that:
Most samples were business computer students followed with accounting and marketing respectively. All samples had got high level rational and experience decision making.
The comparison of experience decision making had showed that accounting students had statistically significant different experience decision making process from business computer at .05, that is accounting students had got higher mean average. 
The comparison of rational decision making had showed that accounting and marketing students had got statistically significant different rational decision making from business computer students at .05, that is accounting and marketing students had got higher mean average.
Findings showed that business computer students should have been promoted to have more rational and experience decision making because these students had got lower decision making process than the others. Teachers and concern parties could focus these decision making processes through computer programming, system analysis and design, computer project and professional training since these subjects would promote more decision making process to these students.


Full Text:

PDF

References


สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ประกาศกระทรวง ศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภท พานิชกรรม สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์.

Calder, L. A. & et al. (2012). Experiential and rational decision making: a survey to determine how emergency physicians make clinical decisions. Emergency Medicine Journal, 29(10), 811-816.

Epstein, S. (2003). Cognitive-experiential self-theory of personality. In Millon, T. & Lerner, M. J. (Eds), Comprehensive Handbook of Psychology. (pp. 159-184). Volume 5: Personality and Social Psychology Hoboken. NJ: Wiley & Sons.

Godek, J. & Murray, K. B. (2008). Willingness to pay for advice: The role of rational and experiential processing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 106(1), 77-87. doi:10.1016/j.obhdp.2007.10.002

Halpern-Felsher, B. (2009). Adolescent Decision Making: An Overview. The Prevention Researcher, 16(2), 3-7.

Karsai, M. R. (2009). Distinguishing Between Rational and Experiential Information Processing Styles. Springfield, Ohio: Wittenberg University Honors Theses, Psychology.

Marks, A. D. G., Hine, D. W., Blore, R. L., & Philips, W. J. (2008). Assessing individual differences in adolescents’ preference for rational and experiential cognition. Personality and Individual Differences, 44(1), 42–52. doi:10.1016/j.paid.2007.07.006

Pacini, R. & Epstein, S. (1999). The relation of rational and experiential information processing styles to personality, basic beliefs, and the ratio-bias phenomenon. Journal of Personality and Social Psychology, 76(6), 972–987.

Sánchez, E., Fernández-Berrocal, P., Alonso, D., & Tubau, E. (2012). Measuring both systems of reasoning: a study of the predictive capacity of a new version of the Rational-Experiential Inventory. European Journal of Education and Psychology, 5(2), 121-132.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.17

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus