ผลการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาในรายวิชาภาพพิมพ์แกะไม้

ประทีป สุวรรณโร

Abstract


การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา 2) ให้นักศึกษาประเมินตนเองก่อนและหลังการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก 3) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาหลังนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกมาส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาภาพพิมพ์แกะไม้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชาภาพพิมพ์แกะไม้ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบประเมินผลงานภาพพิมพ์ตามองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 2) แบบสอบถามประเมินตนเองด้านความสามารถของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนวิชาภาพพิมพ์แกะไม้ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่เรียนรายวิชาภาพพิมพ์แกะไม้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X=3.81, S.D.=0.43) ผลการประเมินความสามารถของตนเองหลังเรียนอยู่ในระดับมาก (X=3.96, S.D.=0.38) และนักศึกษามีความพอใจในการเรียนวิชาภาพพิมพ์แกะไม้ภาพรวมในระดับมาก (X=4.11, S.D.=0.34)

คำสำคัญ: โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก, ภาพพิมพ์แกะไม้, ความคิดสร้างสรรค์

 

This study is an experimental research in a classroom. The objectives of this study were 1) to investigate the effect of a computer graphic program for facilitating the creativity for students, 2) to provide students a channel to evaluate their performances before and after using a computer graphic program and 3) to conduct a satisfactory survey of the students after using a c computer graphic program to facilitate the creativity in woodcut printing class. The sample of this study was 39 students from the Art Education Program, who enrolled in the woodcut printing class in the semester 2/2016. The tools used in this research were: 1) the evaluation form for woodcut work using component model of creativity, 2) the self-evaluation form for measuring student’s skills before and after taking woodcut printing class and 3) the satisfaction evaluation form. The statistical tools implemented in this research were means and standard deviation.

The results showed that the students gained creativity in woodcut printing class with a high level of scores (X=3.81, S.D.=0.43). Furthermore, the self evaluation level after finishing the class was a high level of scores (X=3.96, S.D.=0.38). Finally, a high level (X=4.11, S.D.=0.34) of the satisfactory result suggested that the students be content with woodcut printing class in overall.

Keywords: computer graphics, woodcut printing, creativity


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.5

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus