ปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อความตั้งใจเลิกยาเสพติดของเด็กและเยาวชน

ฐิติมา จันทร์ช่วงโชติ, บัญญัติ ยงย่วน, วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์, พัชรินทร์ เสรี

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตสังคมด้านความตั้งใจเลิกยาเสพติด ด้านเจตคติต่อการเลิกยาเสพติด ด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและด้านการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการเลิกยาเสพติดที่ส่งผลต่อความตั้งใจเลิกยาเสพติดของเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 10-18 ปี สุ่มตัวอย่างโดยตารางเทียบสัดส่วนประชากรของ Krejcie และ Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ร้อยละ 5 จากกลุ่มประชากร 396 คน เพื่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ร้อยละ 10 กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้จึงได้จำนวนทั้งสิ้น 214 คน ใช้วิธีการคัดเข้าแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นผู้ที่มีประวัติหรือมีพฤติกรรมเสพยาเสพติดตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป ผู้ที่มีคะแนนจากแบบคัดกรองการใช้สารเสพติด (ASSIST-ATS: ฉบับใช้เฉพาะศาลเยาวชนและครอบครัว) อยู่ในระดับ 3 คะแนนขึ้นไป และเป็นผู้ที่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองในการเข้าร่วมงานวิจัย ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งหนังสือขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูลวิจัยถึงอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 พร้อมแนบรายละเอียดงานวิจัยและแบบสอบถาม เพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูลวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในพื้นที่ภาค 7 ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์ ใช้ระยะเวลาเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 4 เดือน ตั้งแต่มกราคม-เมษายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลเป็นแบบให้เลือกตอบ ส่วนที่ 2 แบบประเมินการกระทำพฤติกรรมตามแผน สร้างขึ้นตามทฤษฎีการกระทำพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) ของ Ajzen (1991) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของ ความตั้งใจเลิกยาเสพติด เจตคติต่อการเลิกยาเสพติด การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการเลิกยาเสพติด จำนวน 28 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจเลิกยาเสพติด (r=0.306) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการเลิกยาเสพติดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจเลิกยาเสพติด (r=0.260) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 และ 2) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและปัจจัยการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการเลิกยาเสพติดของเด็กและเยาวชน ส่งผลต่อความตั้งใจเลิกยาเสพติดของเด็กและเยาวชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีค่า ß เท่ากับ .170 และ .151 ตามลำดับ และปัจจัยทั้งสามตัวสามารถร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจเลิกยาเสพติดของเด็กและเยาวชนได้ ร้อยละ 10 (Adjusted R2=.100)

คำสำคัญ: ปัจจัยทางจิตสังคม, ความตั้งใจเลิกยาเสพติด, เด็กและเยาวชน

 

This research was aimed at study the relationship between psychosocial factors affecting drug abstinence in regards to attitude towards drug abstinence, subjective norm and perceived behavioral control over drug abstinence among children and youth. The sample consisted of 214 children and youth, out of 390, aged between 10 -18 years whose behaviors related to drug abuse before entering into the proceeding under any charges and their ASSIST-ATS above level 3. They were purposively sample according to Krejcie & Morgan’s population table in their 1970 at the confidence level of 95% with an error of 5%. They had been consented to participate by the Provincial Juvenile and Family Court, Region 7, in 8 provinces including Nakhon Pathom, Suphanburi, Ratchaburi, Kanchanaburi, Petchaburi, Samut Sakhon, Samut Songkram and Prachuap Kirikhan. Data were collected with the total period of 4 months from January, April 2017. The research instruments included a checklist questionnaire and an inventory relating to drug abstinence as developed under the Theory of Planned Behavior of Ajzen (1991) in order to study relationship and power of prediction of drug abstinence, attitude towards drug abstinence, subjective norm and perceived behavioral control over drug abstinence in 28 items. The statistics for data analysis involved frequency, percentage, mean, correlation analysis, and multiple regression analysis.

The results showed that: 1) subjective norm and perceived behavioral control over drug abstinence were positively related with the intention to abstain from drugs among children and youth at a significant level of .01, 2) subjective norm and perceived behavioral control over drug abstinence affected the intention to abstain from drugs among children and youth at a significant level of .05 and ß level of .170 and .151 respectively. All mention three factors had predicted their drug abstinence among children and youth at the level of 10% (Adjusted R2=.100).

Keywords: psychosocial factors, drug abstinence, children and youth


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.18

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus