การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภูมิภาคตะวันออกโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

สุชาดา สวัสดี, ธนวิน ทองแพง, พงศ์เทพ จิระโร

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภูมิภาคตะวันออก โดยมีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 5 ระยะ ได้แก่ 1) ประเมินความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก จำนวน 386 คน 2) ร่างรูปแบบโดยใช้การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์เนื้อหา 3) พัฒนารูปแบบด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) 4) ทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาแล้ว และ 5) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ ซึ่งโรงเรียนที่ใช้เป็นกลุ่มเป้าหมายในการทดลองและประเมินในการวิจัยนี้ คือ โรงเรียนระยองวิทยาคม โดยใช้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ค่ามัธยฐาน (Mdn.) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (I.R.) ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เป็นสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินความต้องการจำเป็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาภูมิภาคตะวันออกสามอันดับแรกที่ต้องการพัฒนา ได้แก่ ด้านการวิจัยปรับปรุง ด้านการปรับพื้นฐานผู้เรียน และด้านการวิเคราะห์ผู้เรียน
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภูมิภาคตะวันออกโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมแบ่งออกเป็นขั้นตอนสำคัญ 10 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำหน่วยการเรียนรู้ 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การปรับพื้นฐานผู้เรียน 4) การออกแบบการเรียนรู้ 5) การจัดการเรียนรู้ 6) การประมวลผลการเรียนรู้ 7) PLC การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนิเทศภายใน 8) การวิจัยปรับปรุง 9) การพัฒนาต่อเนื่อง และ 10) การรายงานผล
3. ผลการประเมินประสิทธิผลหลังการทดลองใช้ ได้แก่ 1) ด้านความเป็นประโยชน์ 2) ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานจริง 3) ด้านความเหมาะสมของรูปแบบ และ 4) ด้านความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ พบว่า มีความเหมาะสมในทุกด้าน

คำสำคัญ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, รูปแบบการจัดการเรียนรู้, โรงเรียนมัธยมศึกษาในภูมิภาคตะวันออก

 

This study was designed based on the concept of Participatory Action Research and was aimed to assess needs for developing an instruction management model, to develop an instruction management model, and to evaluate the effectiveness of the instruction management model for secondary schools in the eastern region. The research process comprised five stages. The first stage was needs assessment. The sample for needs assessment consisted of 386 high-school teachers under the Offices of Basic Education Commission in the eastern region. The second stage was creation of the model by using focus group and content analysis. The third stage was developing the model by using the Delphi Technique. The fourth stage was trying out the developed model, and the fifth stage was evaluating the effectiveness of the model. The targeted sample schools for the experiment and evaluation of the effectiveness of this model was Rayong Wittayakom school. Modified priority needs index (PNImodified), Median (Mdn.), Interquartile Range (I.R.), mean (X), and standard deviation (S.D.) were used for data analysis.

The results are as follows:
1. The top-three needs of teachers, which must be developed, include research for improvement, leveling up student’s background, and analysing students.
2. The model of instruction management for secondary schools in the eastern region using Participatory Action Research (PAR) consisted of the following essential steps: 1) Curriculum analysis and creation of learning units, 2) analysing students, 3) adjusting students’s background, 4) learning designs, 5) learning management, 6) learning processing, 7) professional learning community, learning exchange and supervision, 8) consistently-improved research, 9) continuous development, and 10) reporting.
3. The results of model implementation showed that the model utility, the possibility of application, the suitability of the model, the accuracy, and the reliability were found to be suitable in all aspects.

Keywords: Participatory Action Research, instruction management model, secondary schools in the East


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.2

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus