ผลของการเล่านิทานและบทบาทของนิทานในการส่งเสริมพฤติกรรมทางจริยธรรมของเด็กปฐมวัยที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ปัทมา ศิวะโกศิษฐ, วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเล่านิทานและบทบาทของนิทานในการส่งเสริมพฤติกรรมทางจริยธรรมของเด็กปฐมวัยที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิที่ได้รับการอนุเคราะห์จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นข้อมูลจากการวิจัยเชิงทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลังการทดลอง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักเรียนชั้นเตรียมอนุบาล-อนุบาล 3 ที่ศึกษาอยู่โรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 123 คน ส่วนผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ครูประจำชั้นและผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด 12 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ dependent sample t-test และวิเคราะห์ผลข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลจากการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า คะแนนพฤติกรรมทางจริยธรรมของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทั้ง 3 ด้าน (p<.001) โดยด้านความเมตตากรุณาเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือด้านการควบคุมตนเอง และการพึ่งพาตนเอง ตามลำดับ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า การเล่านิทานมีบทบาท 3 ประการในการส่งเสริมพฤติกรรมทางจริยธรรม คือ 1) เป็นสื่อสอนความดีได้อย่างเป็นรูปธรรม 2) เป็นต้นแบบให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก และ 3) เป็นสื่อที่ใช้ตักเตือนพฤติกรรมเชิงลบในทางอ้อม

คำสำคัญ: การเล่านิทาน, พฤติกรรมทางจริยธรรม, เด็กปฐมวัย

 

The purposes of this research were to study the effects of storytelling and its roles in promoting moral behaviors of preschool children in private schools in Bangkok. The research format was a combination of both quantitative (pre-experimental) and qualitative research (in-depth interview). The researcher used the secondary data provided by Office of the Education Council, Ministry of Education, of which samples of quantitative research were 123 preschool children who studied in private schools in Bangkok. The key informants of qualitative research consisted of 12 persons who were teachers and parents of the samples. Descriptive statistics and dependent t-test were used in analyzing and comparing quantitative data, whereas content analysis was used in analyzing qualitative data. The results from the pre-experimental research showed that the posttest moral behavior scores became higher than the pretest in all 3 categories (p<.001). Generosity scores increased the most, followed by self-control and self-reliance, respectively. Likewise, the analysis of in-depth interviews also proved that storytelling acted in 3 major roles of promoting moral behaviors including: 1) to view concrete examples of moral principles, 2) to encourage positive behaviors and 3) to admonish against negative behaviors indirectly.

Keywords: storytelling, moral behavior, preschool children


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.16

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus