ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบกับการควบคุมตนเองของเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

สุธาทิพย์ กลีบบัว, บัญญัติ ยงย่วน, พัชรินทร์ เสรี

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบของเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 2) ระดับการควบคุมตนเองของเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ กับการควบคุมตนเองของเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 4) บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ ที่ส่งผลต่อการควบคุมตนเองของเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนอายุระหว่าง 15 ถึง 24 ปี ที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ กรณีมีไว้ในครอบครอง เสพ จำหน่าย และผลิต โดยอยู่ระหว่างการคุมประพฤติของสำนักงานคุมประพฤติ กทม.11 และ กทม. 12 สำรวจเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560 จำนวน 95 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบสอบถามบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ และแบบสอบถามการควบคุมตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า 1) เยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมีบุคลิกภาพทั้ง 5 องค์ประกอบอยู่ในระดับปานกลาง 2) เยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มีการควบคุมตนเองด้านหุนหันพลันแล่น ด้านชอบงานสบาย ด้านการมีพฤติกรรมเสี่ยงภัย ด้านชอบใช้แรงกายมากกว่าใช้ความคิดและด้านชอบใช้อารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น ด้านการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ 3) บุคลิกภาพแบบมั่นคงทางอารมณ์ แบบแสดงตัว แบบเห็นด้วยกับผู้อื่นและแบบมีจิตสำนึกของเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับการควบคุมตนเองต่ำ 4) บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ ส่งผลในทิศทางบวกต่อการควบคุมตนเองต่ำ บุคลิกภาพแบบเห็นด้วยกับผู้อื่นและบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก ส่งผลในทิศทางลบต่อการควบคุมตนเองต่ำ และพบว่าบุคลิกภาพ
ทั้ง 5 องค์ประกอบ สามารถร่วมกันพยากรณ์การควบคุมตนเองต่ำ ได้ร้อยละ 24.2

คำสำคัญ: บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ, การควบคุมตนเอง, เยาวชน, การกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

 

This study aimed at investigating: 1) level of the five-factor model of personality among young people who committed drugs related crimes; 2) level of self-control among young people who committed drugs related crimes; 3) relationship between the five-factor model and self-control of young people who committed drugs related crimes; and 4) the five-factor model affecting self-control of young people who committed drugs related crimes. The sample group involved 95 young delinquents, aged between 15-24 years who committed drugs related crimes in cases of holding, consumption, sales, and production, the sample group have been under probation in two offices of probation; namely, Probation Office, BMA 11 and Probation Office, BMA 12 as surveyed on October 1, 2016 to June 15, 2017. The sample group was selected by the purposive sampling. The data collection instrument included the general information, the five-factor model of personality and self-control questionnaire. The data was analyzed by using the frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation, and multiple regression analysis.

The results showed that: 1) young people who committed drugs related crimes had the five-factor model at the medium level; 2) young people who committed drugs related crimes had self-control in traits of impulsivity, simple task, risk taking, physicality, and temper at the medium level, except in the trait of self-center that stayed at the low level; 3) neurotism, extraversion, agreeableness, and conscientiousness personalities among young people who committed drugs related crimes had the negative relationship with self-control at the low level; and 4) openness to experience personality positively affected self-control at the low level, but agreeableness and conscientiousness personalities negatively affected self-control at the low level. It was found that the five-factor model could jointly predict self-control at the low level (24.2%).

Keywords: five-factor model of personality, self-contol, young people, committed drugs related crimes


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.17

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus