ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการรับบริการในรายวิชาปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สมศักดิ์ บัวทิพย์, สุกัลยา เหมมณี, วิทูล ไชยภักดี, ศุภกาญจน์ บัวทิพย์

Abstract


การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการรับบริการในรายวิชาปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการในด้านการบริการของนักวิทยาศาสตร์ ด้านเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ด้านวัสดุ-อุปกรณ์-สารเคมี ด้านห้องปฏิบัติการ ด้านตัวอย่างทดลอง และความสุขในการปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 420 คน ประกอบด้วย นักศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาปฏิบัติการชีววิทยา ปฏิบัติการจุลชีววิทยา ปฏิบัติการพฤกษศาสตร์ และปฏิบัติการนิเวศวิทยา ในภาคการศึกษาที่ 1/2560 โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ANOVA ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการบริการในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.10±0.59 จัดอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยทุกด้านที่ทำการศึกษานักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมาก และมีความสุขในการปฏิบัติการในระดับความพึงพอใจมาก (4.33±0.75) จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ปัจจัยเรื่องเพศและคณะไม่มีผลต่อความแตกต่างของความพึงพอใจ ในขณะที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความพึงพอใจสูงกว่าชั้นปีที่ 2-3 นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการมีความพึงพอใจสูงกว่าทุกสาขาวิชา และปฏิบัติการนิเวศวิทยานักศึกษามีความพึงพอใจต่ำกว่าทุกปฏิบัติการที่ทำการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

คำสำคัญ: ความพึงพอใจ, ปฏิบัติการ, การบริการ

 

Students’ satisfaction towards the services in the course of laboratory at the Faculty of Science and Technology, Prince of Songkla University. The purposes of this research were to study and compare the level of student satisfaction with the service of scientists, scientific instruments, materials-chemicals, laboratories, samples and students’ happiness during performing their labs. The data were collected from 420 students of Faculty of Education and Faculty of Science and Technology who registered in Biology, Microbiology Botany, and Ecology Laboratory Course in the first semester of 2017. The research instrument was a questionnaire. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and ANOVA. The result found that the services were satisfied in high level, mean 4.10±0.59. Furthermore, all part in this study was high level. And a happiness during working in the laboratory was high (4.33±0.75). The statistical analysis, sex and faculty were not different satisfied. In addition, the 1st year student was higher satisfied more than 2nd and 3rd, student in Food Science and Nutrition was higher satisfied than all major and Ecology laboratory was less satisfied than all the study, was significant (p<.05).

Keywords: satisfaction, laboratory, service


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.9

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus