นวัตกรรมกับการพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ
Abstract
นวัตกรรมในความหมายของการสร้างสิ่งใหม่และดีกว่า ถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของตัวแบบกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนต้องการมุ่งความสนใจไปที่บทบาทของนวัตกรรมในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการพัฒนากลยุทธ์ กล่าวคือ การเปลี่ยนกระบวนการทัศน์ของการนิยามความเป็นเลิศ การเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการในการพัฒนากลยุทธ์การบริหาร และการเปลี่ยนวิธีการหาองค์ประกอบของตัวแบบกลยุทธ์ การศึกษาครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากความตระหนักถึงผลกระทบต่อการพัฒนากลยุทธ์การบริหาร ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงตามนโนบายประเทศไทย 4.0 จากข้อเรียกร้องความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ 4 ฝ่าย ในบริบทของโรงเรียน คือกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ลงทุน นักเรียนและผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งต่างแข่งขันกันชิงความสนใจและทรัพยากรจากโรงเรียนเพื่อสนองความต้องการของตน และจากแรงกดดันภายนอกในการเปลี่ยนแปลงของโลกและภูมิภาค
เป้าหมายของการศึกษานี้ คือ การโฟกัสความเข้าใจที่การทำให้สามารถใช้ผลการวิจัยได้จริง และนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนของโรงเรียน เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ผู้เขียนตอบสามคำถามสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงส่งผลอย่างไร 1) ต่อการนิยามความเป็นเลิศ 2) ต่อวิธีคิดและวิธีการพัฒนากลยุทธ์ และ 3) ต่อวิธีการค้นหาองค์ประกอบของกลยุทธ์การบริหารอย่างไร เป็นสามปัญหาที่คุณค่าควรแก่การคิดไตร่ตรองอย่างเป็นระบบ เพราะหมายถึงประโยชน์และความสำคัญของผลงานวิจัยของผู้เขียนเองเป็นอันดับแรกที่จะไม่เป็นเพียงอีกงานวิจัยหนึ่ง แต่ยังหมายถึงความเป็นไปได้ของการใช้ประโยชน์ในโรงเรียนในฐานะเป็น “ตัวแบบ” ของกลยุทธ์การบริหาร ตามอัตลักษณ์ สภาพแวดล้อม และความต้องการของชุมชนของแต่ละโรงเรียนเองเป็นประเด็นสำคัญ
ผลจากการศึกษาครั้งนี้คือการค้นพบความจำเป็น 3 ด้านที่ต้องเปลี่ยนแปลงในการพัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศ 1) การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ซับซ้อน และความไม่แน่นอนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการนิยามความเป็นเลิศ โดยใช้ความต้องการของผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้น 2) วิธีการพัฒนากลยุทธ์การบริหารเป็นการทดลองแบบวนรอบ (iterative experimentation) มากกว่าเป็นการตัดสินใจครั้งเดียว โดยเป็นการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง แต่ไม่สร้างความสับสน 3) วิธีการหาองค์ประกอบของกลยุทธ์การบริหารโดยใช้วิธีการของนักนวัตกรรมส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมจากภายในตัวแบบขององค์ประกอบเอง ทั้งที่เป็น sustaining และ disruptive innovation
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสามด้าน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้บริหาร จาก “ผู้ตัดสินใจ” เป็น “นักทดลอง” ที่ด้วยวิธีคิดแบบนักนวัตกรรม ทำให้การพัฒนาและการนำกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ มีลักษณะของความไม่หยุดนิ่ง การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ทันเวลา โดยไม่สร้างความสับสนและแปรปรวนให้กับทิศทางและเป้าหมายของการดำเนินการ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายความเป็นเลิศที่ต้องการ
คำสำคัญ: นวัตกรรม, การเปลี่ยนแปลง, การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียน, ความเป็นเลิศ
Innovation, coming up with new and better ideas, is identified as a component of the strategy model. In this study, the focus is on how the concept of innovation can be used to effect important modifications in the process of strategy formulation: a paradigm shift in defining excellence; in the formulation of strategies; in the identification of the strategy components. The study begins with a keen observation of how three factors affect the strategy formulation process, namely the accelerating change due to Thailand 4.0 policy; the competing requirements of 4 key stakeholders in school setting (the Ministry of Education, investors, students and parents, and teachers), each trying to attract and draw limited resources from the school in order to meet one’s one needs; and the external pressures originating from the global and regional transformation.
The study aims to focus our understanding on the applicability of the findings and on certain ways that lead to success. For the purpose, three questions are answered: how changes in the operating environments affect 1) the definition of excellence 2) the formation of administration strategies (3) the identification of strategy components. The three questions are worth our efforts, first for the usefulness and relevance of my thesis, but more importantly for the possibility of using successfully the ‘model’ in different settings, contexts, and community needs.
Key findings in this study is the need to modify 3 aspects of the strategy formulation for performance excellence. First, rapid, complex changes and uncertainty affect the paradigm shift in the definition of performance excellence by which student needs are to be first in the list. Second, the formulation of strategies is to be iterative, a kind of educated guess and experimentation at first, rather than a static, one-time decision. Third, the identification of strategy components is an innovative process, rather than a static modelling, resulting in a sustaining or a disruptive innovation model.
The three changes effect the way the school administrators operate in the formulation of the strategies: from a decision maker to an innovative experimenter. By investing with the innovator mindset and equipped by the innovator tools, the administrators will turn the strategy formulation and implementation into a dynamic and agile process, capable of a timely adaptation, without causing confusion and turbulence in the direction setting of the school, leading to an achievement of the education performance excellence.
Keywords: innovation, changes, strategy formulation, education performance excellence
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.40
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus