ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้โครงสร้างของพืช และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้โครงสร้างของพืช และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบ้านใหม่พิทยาคม จำนวน 20 คน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์ จำนวน 7 แผน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้โครงสร้างของพืช และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: สืบเสาะหาความรู้ (7E), ผังมโนทัศน์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
The purposes of this research were to 1) compare learning achievement on plant structure learning unit and critical thinking ability for grade 11 students before and after using inquiry method management (7E) with concept map and 2) compare learning achievement on plant structure learning unit and critical thinking ability for grade 11 students after using inquiry method management (7E) with concept map against the 70% criterion. The research sample was 20 students from Ban Mai Phitthayakhom School in 2017 academic year, received by cluster random sampling. The research instruments were 7 lesson plans, achievement test and critical thinking ability test. Statistics for data analysis were the percentages, X, S.D. and t-test.
The results of this study revealed that the students’ plant structure achievement and critical thinking ability for grade 11 students after using inquiry method management (7E) with concept map was higher than before with statistical significance at the .05 level. Also, the students’ plant structure achievement and critical thinking ability after using inquiry method management (7E) with concept map was higher than the 70 % with statistical significance at the .05 level.
Keywords: inquiry method management (7E), concept map, learning achievement, critical thinking
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.43
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus