การสื่อสารเพื่อสันติภาพ: แนวคิดและข้อเสนอสำหรับการออกแบบหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ปวิชญา ชนะการณ์, ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา, กุสุมา กูใหญ่

Abstract


บทความวิจัยนี้มุ่งเสนอกรอบแนวคิดและข้อเสนอแนวทางการออกแบบหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารเพื่อสันติภาพ อันเป็นผลจากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า ปรัชญาของหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการแสวงหาความรู้จากการวิจัยทั้งในเชิงนิรนัย อุปนัย และแบบองค์รวม วัตถุประสงค์ของหลักสูตรควรมุ่งสร้างบัณฑิตให้สามารถสร้างองค์ความรู้ด้านการสื่อสารเพื่อสันติภาพ ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติหรือศึกษาต่อยอดเพื่อส่งเสริมการสร้างสันติภาพในสังคมที่มีความขัดแย้ง

ด้านเนื้อหาของหลักสูตรควรมีการเชื่อมต่อระหว่างองค์ความรู้ทางทฤษฎีการสื่อสารกับการศึกษาเชิงพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ของความขัดแย้ง ควรใช้กรอบการศึกษาเปรียบเทียบเชิงเนื้อหา มุมมองทางทฤษฎี และบทบาทของการสื่อสารและสื่อ ส่วนการเชื่อมโยงเนื้อหาของหลักสูตรไปสู่การวิจัยนั้นควรให้ความสนใจในประเด็นยุทธศาสตร์เชิงการสื่อสาร การผลิตและผลิตซ้ำความรุนแรงทั้งเชิงกายภาพและเชิงสัญลักษณ์ วิธีการให้ความหมายของความรุนแรงและผลกระทบต่อผู้คน รวมทั้งความเข้าใจถึงกลไกการผลิตข่าวสารและความหมายที่ผลักดันผู้คนไปสู่ความขัดแย้ง สำหรับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ หลักสูตรควรพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจสังคมและปัญหาความขัดแย้งอย่างกว้างขวางและหลากหลายมิติ มีทักษะที่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ มีศักยภาพการทำงานเครือข่าย รวมทั้งมีความรู้ด้านการบริหารจัดการข้อมูลเนื้อหาข่าวสารและการผลิตสื่อเพื่อสันติภาพบนฐานของจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ

คำสำคัญ: การสื่อสารเพื่อสันติภาพ, ความขัดแย้ง, การออกแบบหลักสูตร, บัณฑิตศึกษา, นิเทศศาสตร์

 

The article addresses the concept of communication for peace and makes the recommendation for the Master Degree program in Communication for Peace. With qualitative methodology, this research finds that three core components of curriculum should be considered: philosophy of higher education, perspectives and aspects of peace communication, desirable characteristics of graduates in peace communication field.

The philosophy of graduate degree should focus on the process of learning through research with critical and analytical skills (inductive, deductive and holistic learning) and the ability to relate knowledge of communication to other academic fields, particularly peace and conflict studies. The program could be based on area studies and comparative approach of theoretical perspectives and the roles of communication and media in different conflict areas. Some of proposed areas of study in communication for peace are discussed, such as conflict resolution and peace studies, production and reproduction of physical and symbolic violence, information and communication strategies, peace journalism, media representation of conflict and violence and their effects, the mechanism of news production and social meanings which escalate into conflict and violence, etc. In order to effectuate the program’s objectives, the curriculum should provide knowledge and understanding about the diverse dimensions of conflict and social context, networking ability for news reporter or communication practitioner, information management and media production skills with professional ethics.

Keywords: communication for peace, conflict, curriculum design, master degree, communication arts


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.33

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus