สภาพชีวิตพระสงฆ์เชื้อสายสยามเพื่อดำรงวิถีไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

พระวิจักร์ พงษ์พันธ์, ปัญญา เทพสิงห์, เก็ตวา บุญปราการ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพชีวิตของพระสงฆ์เชื้อสายสยามเพื่อดำรงวิถีไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและลงพื้นที่ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ พระสงฆ์เชื้อสายสยามวัดไทยพุทธในพื้นที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย จำนวน 12 รูป และฆราวาส จำนวน 10 คน นำข้อมูลทีได้จากการสัมภาษณ์มาตรวจสอบแบบสามเส้าด้านข้อมูล ประกอบด้วย เวลา สถานที่ และบุคคล โดยใช้กรอบการศึกษาผ่านมิติทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ

ผลการศึกษาพบว่า ด้านสังคมมีเครือข่ายกับพระสงฆ์ในประเทศไทยด้านต่างๆ เช่น การรับพัดยศ การเชิญพระสงฆ์ไทยร่วมกิจกรรม การแลกเปลี่ยนทัศนะด้านปกครองคณะสงฆ์ การรับกฐินพระราชทาน พระสงฆ์มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่หลากหลาย โดยเฉพาะคนเชื้อสายจีนมีความสัมพันธ์กับสุลต่านรัฐกลันตัน โดยสุลต่านเป็นผู้แต่งตั้งตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ ด้านวัฒนธรรมพระสงฆ์เชื้อสายสยามมีการส่งเสริมให้ดำรงวิถีไทยหลายรูปแบบ เช่น การใช้ภาษาไทย การส่งเสริมศิลปะไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อรักษารากเหง้าวัฒนธรรมไทย และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของตัวเองให้โดดเด่นท่ามกลางพหุวัฒนธรรมโดยไม่มีความขัดแย้งกับชาติพันธุ์อื่น ด้านเศรษฐกิจพระสงฆ์เชื้อสายสยามมีรายได้จากเงินเดือนจากรัฐบาลไทย เงินบริจาค การจำหน่ายวัตถุมงคล ในส่วนรายจ่ายพระสงฆ์มีรายจ่ายเป็นค่าเดินทาง ค่ารักษาโรค ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ชีวิตพระสงฆ์เชื้อสายสยามในรัฐกลันตันช่วยสะท้อนถึงการดำรงวิถีไทยให้เป็นที่รู้จักในสังคมต่างแดน

คำสำคัญ: พระสงฆ์สยาม, สภาพชีวิต, วิถีไทย, รัฐกลันตัน, ประเทศมาเลเซีย

 

The present study aimed at investigating the living condition of Siamese Buddhist monks for maintain Thai way in Kelantan, Malaysia. Educating side of social, cultural and economic, employing a qualitative research method, data collection consisted of gathering printed document, in - depth interviews, participatory and non - participatory observations. Major informants were twelve Siamese lays Buddhist and ten Siamese Buddhist abbots in temple and data triangulation was adopted composed of time, place and person. Using the framework through the social, cultural and economic dimensions. Qualitative data analysis was performed based on the framework of social, cultural and economic dimensions.

The study indicated that on the social dimension, the followings were found: A network with Buddhist monks in Thailand was form in order to receive monk rank, invite Thai monks to join the activities, exchange of views on the monk administration, Royal Kathina. Interact with diverse people, especially people of Chinese descent, relationship with the Sultanate of Kelantan State. Sultan is the appointed monk administration range. On the culture dimension, the Siamese Buddhist monks are promoted in many ways such as using Thai language, Thai art and tradition to maintain the roots of Thai culture and their ethnic identity to stand out among multiculturalism without conflicting with other ethnicities. On the economic dimension, Siamese Buddhist monks earn monthly from Thai government, donation, and distribution of sacred objects. Monks expense composed of travel expense, treatment and miscellaneous. The life of Siamese Buddhist monks in Kelantan State reflect to maintain Thai way in Thai society to be known in other country.

Keywords: Siamese Buddhist monk, living condition, Thai way, Kelantan State, Malaysia


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.55

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus