ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้วยโยคะต่อพฤติกรรมสุขภาพและการเพิ่มน้ำหนักตัวในหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์

ทรงพร จันทรพัฒน์, ประภาพร ชูกำเหนิด, สุภา พันธุ์ชนะ, อรวรรณ จินตนะ, ศิรินารถ อึ้งสถาพรผล

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้วยโยคะต่อพฤติกรรมสุขภาพ และการเพิ่มน้ำหนักตัวในหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 50 คน จัดให้เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้วยโยคะ (n=25) และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติของบริการรับฝากครรภ์ (n=25) เครื่องมือที่ใช้มี 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ (การออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร) แบบบันทึกน้ำหนักตัว และเครื่องชั่งน้ำหนักแบบอัตโนมัติ 2) เครื่องมือดำเนินการทดลอง คือ โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้วยโยคะ แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพและโปรแกรมดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ส่วนเครื่องชั่งน้ำหนักได้ผ่านการประเมินความเที่ยงโดยการเทียบวัดตามมาตรฐานการปฏิบัติของโรงพยาบาลภาครัฐประจำปี แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพได้ประเมินความสอดคล้องภายในของการวัดด้วยสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (การออกกำลังกาย=.81 และการรับประทานอาหาร=.84) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม ระยะเวลาทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ ทุกๆ 3 สัปดาห์ รวม 3 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง โทรศัพท์ติดตามทุกวันที่ 7 ของแต่ละสัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 2, 3, 5, 6, 8 และ 9 โดยวัดผลพฤติกรรมสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวในสัปดาห์แรก และหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 10 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา และทดสอบความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพ และน้ำหนักตัวก่อนและหลังในกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติทีแบบจับคู่ (Paired-sample t-test) และระหว่างกลุ่มควบคุมและทดลองด้วยสถิติทีอิสระ (independent t-test)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ (การออกกำลังกาย: M=35.36, S.D.=2.75 และการรับประทานอาหาร: M=37.32, S.D.=3.40) และน้ำหนักตัว (M=73.98, S.D.=6.76) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนได้รับโปรแกรม (การออกกำลังกาย: M=31.16, S.D.=3.90, การรับประทานอาหาร: M=33.44, S.D.=2.97 และน้ำหนักตัว: M=70.51, S.D.=7.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (การออกกำลังกาย: t=6.98, p<.001, การรับประทานอาหาร: t=4.29, p<.001 และน้ำหนักตัว: t=2.10, p<.05) อีกทั้งกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่า แต่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (การออกกำลังกาย: M=28.72, S.D.=4.31, การรับประทานอาหาร: M=32.32, S.D.=3.97 และน้ำหนักตัว: M=77.89, S.D.=6.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (การออกกำลังกาย: t=5.47, p<.001, การรับประทานอาหาร: t=4.79, p<.001 และน้ำหนักตัว: t=2.03, p<.05)

โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้วยโยคะที่ได้ออกแบบและทดสอบผลในการวิจัยนี้ ควรนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกินในคลินิกฝากครรภ์เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพของทั้งมารดาและทารกต่อไป

คำสำคัญ: โยคะ, สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์, หญิงตั้งครรภ์

 

This study aimed to examine the effects of yoga-based self-efficacy enhancement program on health behaviors and body weight increasing in overweight pregnant women. The subjects who met the inclusion criteria were recruited of 50 pregnant women. Then they were randomly assigned into either the experimental (n=25) or the control group (n=25). The experimental group received the yoga-based self-efficacy enhancement program and the control group received regular care from nursing practice guideline of the antenatal clinic. The study instruments consisted of 2 parts. First, there were demographic data, health behaviors questionnaires (exercise, and dietary behaviors), a record form of maternal weight, and the automatic weight scale. Second was the yoga-based self-efficacy enhancement program. The content validity of the program and the questionnaires were validated by three experts. Reliability of health behaviors (the exercise and dietary behavior scales) were tested and yield Cronbach’s alpha coefficient of .81 and .84 respectively. Whereas, the automatic weight measuring equipment was audited by comparing with standard of the hospital medical devices division once a year. This quasi-experimental research with pretest-posttest control group was conducted in 1-hour of every 3-week for 10 weeks. In addition, telephone was calling at seventh day of week 2, 3, 5, 6, 8 and 9. Health behaviors and body weight change were evaluated at the beginning of first week and at the end of program of 10th week. Descriptive statistic was used to analyze for demographic data. Paired-sample t test and Independent t test were used to analyze differences in mean score of exercise behavior, dietary behavior and weight change.

The results showed that the mean score of health behaviors in the experimental group (the exercise behavior: M=35.36, S.D.=2.75 and the eating behavior: M=37.32, S.D.=3.40) and weight change (M=73.98, S.D.=6.76) were significantly (t=6.98, p<.001; t=4.29, p<.001; and t=2.10, p<.05 respectively) higher than before receiving the program (the exercise behavior: M=31.16, S.D.=3.90, the eating behavior: M=33.44, S.D.=2.97 and weight change: M=70.51, S.D.=7.71). Furthermore, the mean score of health behaviors in the experimental group were significantly higher, while maternal weight gain was significantly lower than that in the control group (the exercise behavior: M=28.72, S.D.=4.31, t=5.47, p<.001; the eating behavior: M=32.32, S.D.=3.97, t=4.79, p<.001; and weight gain: M=77.89, S.D.=6.83, t=2.03, p<.05).

This finding of the yoga-based self-efficacy enhancement program should be promoted in caring for further maternal and fetal health in overweight pregnant women.

Keywords: Yoga, self-efficacy, health-behaviors, overweight, pregnant women


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.15

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus