แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระของชุมชนบ้านช่างหล่อ กรณีศึกษาบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed MethodResearch) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยสนับสนุนและระดับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระ 2) เพื่อเปรียบเทียบการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระ จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระของชุมชนบ้านช่างหล่อ จำนวน 261 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) การใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างในเชิงสถิติทำการเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison) ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) หาความสัมพันธ์โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์โพรดักส์ (Peason’s product moment Correlation Coeffcient) และการถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับการศึกษา รายได้ จำนวนปีที่เข้าพักอาศัยแตกต่างกัน มีผลต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) ปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระของชุมชนบ้านช่างหล่อ คือ ด้านคุณค่าและด้านความเชื่อ ซึ่งสามารถทำนายระดับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระได้ ร้อยละ 30.2 และ 39.7 ตามลำดับ สามารถเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ Y=0.461+0.444X5+0.424X3 และในรูปคะแนนมาตรฐาน Z=0.416Z5+0.336 Z3 4) แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระของชุมชนบ้านช่างหล่อ 4.1) ควรมีการศึกษา รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาการหล่อพระอย่างจริงจัง 4.2) ควรมีการปลูกจิตสำนึกให้คนชุมชน ตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาการหล่อพระ 4.3) ควรมีการฟื้นฟูภูมิปัญญาการหล่อพระขึ้นมาใหม่ 4.4) ควรมีการพัฒนาปรับปรุงภูมิปัญญาการหล่อพระให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน 4.5) ควรมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการหล่อพระแก่คนรุ่นใหม่ 4.6) ควรมีการจัดกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ แลกเปลี่ยน
Based on both of the integrates research methodologies as to qualitative and qualitative methods, this research were 1) to study the support factors affecting the conservation of wisdom Casting Buddha 2) to compare the conservation of wisdomCasting Buddha with personal characteristics 3) to study the factor affecting the conservation of wisdom Buddha casting. 4) to study about problem, obstacles and suggestion for the conservation of wisdom Buddha casting. This research made a study of a sample of 261 Banchanglorcommunity by Stratified Random Sampling. The data-gathering instruments used in the research were a questionnaire and focus group with personal characteristics, the support factors, attitude, problem and suggestion of the conservation of wisdom Buddha casting. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, multiple comparison by scheffe’s method, stepwise multiple regression analysis and content analysis.
The research findings were as follows: 1) The support factors affecting the conservation of wisdom Casting Buddha level atBanchanglor community were at a moderate level 2) The comparing of support factor with the conservation of wisdom Casting Buddha level at Banchanglor community by personal characteristics were found that occupation, education, income and number of year of residenceheld differences with statistical significance at the level of .05 3) The support factors influencing in the conservation of wisdom Casting Buddha level at Banchanglor community were found that the valuable (X5) was selected by ranking no.1 and belief in wisdom Casting Buddha (X3) was selected by ranking no.2 can be predicted to operation effectively in the conservation of wisdom Casting Buddha level at 30.2% and 39.7% respectively with statistical significance at the level of .05 Standard deviation at 0.536 as follows: The predicting equation in raw scores: Y=0.461+0.444X5+0.424X3 The predicting equation in standard scores: Z=0.416Z5+0.336 Z3 4) Conservative approach to 4.1) Should be studied and collected of the wisdom of Buddha casting seriously. 4.2) Should have the awareness to the community. Recognizing the value and importance of the core essence of the wisdom of casting. 4.3) Should have refreshed the wisdom of Buddha casting. 4.4) Should be developed Improve the wisdom of casting. To suit theera and was helpful indaily life. 4.5) Should convey the wisdom of casting to people in the new gerneration. 4.6) Should be have activity and public to outside people for knowledge dissemination and exchanging.
Full Text:
PDFReferences
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2549). ช่างสิบหมู่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
ปฏิพัทธ์ ทองพันธ์. (2547). “การศึกษาปัญหาและอุปสรรคของช่างหล่อ พระพุทธรูป: กรณีศึกษาโรงงานหล่อพระบูรณะไทย ในจังหวัดพิษณุโลก”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
พุทธิรัตน์ รัชตะวรรณ. (2549). “ร่องรอยจากชื่อชุมชนที่เหลืออยู่: ภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงและปรับตัว กรณีศึกษาชุมชน บ้านช่างหล่อ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ”. รายงานการศึกษา เฉพาะบุคคล หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ภาคมานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วดี กัณหทัต. (2521). พระหล่อ พุทธศิลป์ในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
อังคาร (นามแฝง). (2550). 18 ชุมชนหัตถกรรม ภูมิปัญญาโบราณ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ 1991 จำกัด.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.5
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus