อัตราการใช้สารเสพติดและการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้

รอฮานิ เจะอาแซ, ฮัสณาฐ์ โต๊ะพา, สุไฮดาร์ แวเตะ, ฉมาพร หนูเพชร, เจ๊ะยารีเย๊าะ เจะโซ๊ะ, วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ, คอลีเยาะ เจะแว

Abstract


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการใช้สารเสพติด การมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันการใช้สารเสพติดและปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการป้องกันการใช้สารเสพติดในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคัดเลือกชุมชนมุสลิม 2 แห่งในจังหวัดสงขลาและปัตตานีอย่างเฉพาะเจาะจง สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากฐานข้อมูลประชากรของชุมชนๆ ละ 300 คน เก็บข้อมูลการใช้สารเสพติดโดยใช้เครื่องมือคัดกรองการดื่มสุรา สูบบุหรี่และการใช้สารเสพติด (ASSIST) ซึ่งมีความไวและความจำเพาะของเครื่องมือเท่ากับ 80% และ 71% ตามลำดับ เก็บข้อมูลการมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันการใช้สารเสพติดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติด ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติด โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันการใช้สารเสพติดและแบบสอบถามทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติด ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิธีครอนบาคแอลฟา มีค่าครอนบาคแอลฟาของแบบสอบถามการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันปัญหาการใช้สารเสพติดและทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาการใช้สารเสพติดเท่ากับ 0.97 และ 0.95 ตามลำดับ หาอัตราการใช้สารเสพติดและการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า อัตราการใช้ยาสูบ ใบกระท่อม สารผสมน้ำต้มใบกระท่อม กัญชา แอลกอฮอล์ แอมเฟตามีน และสารระเหยของกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดสงขลามีค่าเท่ากับร้อยละ 25.5, 6.7, 3.2, 3.2, 1.4, 0.7 และ 0.4 ตามลำดับ ส่วนอัตราของการใช้ยาสูบ ใบกระท่อม สารผสมน้ำต้มใบกระท่อม กัญชา แอลกอฮอล์ แอมเฟตามีน และสารระเหยของกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดปัตตานีมีค่าเท่ากับร้อยละ 22.4, 6.0, 6.0, 2.0, 1.5, 2.7 และ 0.5 ตามลำดับ การมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันปัญหาการใช้สารเสพติดทั้งสองชุมชนอยู่ในระดับน้อย ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อป้องกันปัญหาการใช้สารเสพติด ได้แก่ ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาการใช้สารเสพติด ชุมชนที่อาศัยและระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง โดยทำนายความแปรปรวนของการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันปัญหาการใช้สารเสพติดร้อยละ 45 กลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติเชิงบวก อาศัยในชุมชนจังหวัดสงขลา และมีการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติด

คำสำคัญ: การใช้สารเสพติด, การป้องกันสารเสพติด, มุสลิม, จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

The objectives of this study are 1) to describe the prevalence of illegal substance use, 2) to determine the level of participation in prevention of illegal substance use programs, and 3) to explore factors associated with participation in prevention of illegal substance use programs among illegal substance using Muslims in southern Thailand. Two Muslim predominant villages from Songkhla and Pattani provinces of southern Thailand were purposively selected. Three hundred residents in each village were randomly selected from the census. The Alcohol, Smoking, and Substance Involvement Screening Test (ASSIST) was used to describe the prevalence of illegal substance use. Participation in drug prevention programs and factors related to participation included attitudes toward drug prevention and personal and family characteristics and were collected using the Participation on Drug Prevention Scale (PDPS), the Attitude on Drug Prevention Scale (ADPS) and a self-made general characteristic questionnaire. The prevalence of illegal substance use and participation in drug prevention programs was analyzed descriptively. A multiple linear regression model was used to determine factors associated with participation in drug prevention programs.

The prevalences of tobacco smoking, use of kratom, kratom cocktail, cannabis, alcohol, amphetamine and inhalants in the Songkhla village were 25.5%, 6.7%, 3.2%, 3.2%, 1.4%, 0.7% and 0.4%, respectively while for the Pattani village the respective prevalences were 22.4%, 6.0%, 6.0%, 2.0%, 1.5%, 2.7% and 0.5%. Participation in prevention of illegal substance use programs was low among both villages. Factors associated with participation in these programs were village in the Songkhla province, positive attitude and higher education were associated with higher participation, which explained 45% of the total variance.

Keywords: Illegal substance use, drug prevention, Muslims, Deep South


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.37

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus