ผลของผลิตภัณฑ์นมรสช็อกโกแลตที่มีต่อสมรรถภาพทางแอนแอโรบิกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล

สมชาติ บุญธรรม, ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์, อรัทยา ถนอมเมฆ

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการฝึกโปรแกรมการฝึกแบบวงจรควบคู่กับการบริโภคผลิตภัณฑ์นมรสช็อกโกแลตที่มีต่อสมรรถภาพทางแอนแอโรบิก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาสาสมัครที่เป็นนักกีฬาฟุตบอลชายมีอายุระหว่าง 16-18 ปี ที่มีสุขภาพแข็งแรง จำนวน 10 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายที่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดจากนักกีฬาฟุตบอลชายของโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาใกล้เคียงกัน โดยทุกคนได้เข้าร่วมโปรแกรมฝึกสัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ใช้เวลาในการฝึก 90 นาที และได้รับผลิตภัณฑ์นมรสช็อกโกแลตเป็นอาหารเสริม จำนวนปริมาณ 5 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมทุกครั้งก่อนการฝึก 30 นาที ทดสอบสมรรถภาพทางแอนแอโรบิกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ และสถิตินอนพาราเมตริก Wilcoxon Sign-Rank test

ผลวิจัยพบว่า
1. การฝึกแบบวงจรควบคู่กับการบริโภคผลิตภัณฑ์นมรสช็อกโกแลตมีสมรรถภาพทางแอนแอโรบิก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอลดีขึ้น
2. ภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางแอนแอโรบิกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากกว่าหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยนี้ยืนยันผลการใช้ผลิตภัณฑ์นมช็อกโกแลตในการเพิ่มสมรรถภาพทางแอนแอโรบิกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล โดยดัชนีความล้ามีค่าลดลงจะช่วยพัฒนาความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต และลดอาการเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นจากกรดแลคติก ทำให้ร่างกายสามารถนำออกซิเจนมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อขยายระยะเวลาการเกิดจุดเริ่มล้าซึ่งทำให้สมรรถภาพแอนแอโรบิกยิ่งดีขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกในการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาต่อไป

คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์นมรสช็อกโกแลต, โปรแกรมการฝึกแบบวงจร, สมรรถภาพทางแอนแอโรบิก, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา

 

The purpose of this research was to compare the differences between circuit training and the consumption of chocolate dairy products on anaerobic performance and leg muscle strength in football players. The subjects were ten healthy male football players from a football team of a secondary school based in the Northeast of Thailand who were aged between 16-18 years old. The research was carried out via simple random sampling together with inclusion criteria which was their similar muscle aptitude and leg muscle strength. All participants joined in a three days a week program which took place on Monday, Wednesday, and Friday for 8 weeks. The participants practiced for 90 minutes and each participant received 5 ml of chocolate milk per 1 kg supplement which was repeated every 30 minutes before the practice. The anaerobic performance and legs strength measurement occurred after the 4th and 8th week of training, the data was statistically analyzed by Median, Interquartile range and Non-parametric testing methodology as well as the Wilcoxon Sign-Rank test.

The key findings of the research:
1. The circuit training in combination with chocolate milk flavor supplement leads to the player having an increased anaerobic capacity and leg muscles strength in football players.
2. The results after the 8th week revealed a statistically significant increase in anaerobic performance and also leg muscle strength was substantially higher than the result of performance after the 4th week at p-value 0.05.
In conclusion, it was found that chocolate milk consumption leads to an increased anaerobic performance together with leg muscle strength in football players through reduced fatigue; as well as index improvements in the endurance of the circulatory system. In addition, chocolate milk can reduce fatigue caused by lactic acid accumulation leading to efficient oxygen metabolism. Furthermore, an extension of time can provide later fatigue sign that would lead to better anaerobic performances. These findings can be used as an alternative procedure to develop the higher potential of the athlete.

Keywords: chocolate dairy products, circuit training, anaerobic performance, leg muscle strength


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.34

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus