กรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหา สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศลาว

ศรเพชร สีหะราช, สุมาลี ชัยเจริญ

Abstract


การแก้ปัญหาเป็นความสามารถในการคิดที่ใช้ความซับซ้อนของกระบวนการทางปัญญา การคิดแก้ปัญหาและประเด็นสำคัญของการศึกษาระดับชาติลาวที่จำเป็นต้องพัฒนา วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศลาว รูปแบบการวิจัยที่ใช้ในครั้งนี้ คือ การวิจัยโมเดล (model research) การศึกษาครั้งนี้ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดล (model development) ใช้วิธีการศึกษา ได้แก่ การวิจัยเอกสาร เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีและกรอบแนวคิดการออกแบบ และการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาบริบทการเรียนการสอนและตรวจสอบคุณภาพโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ฯ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุป ตีความ และบรรยายเชิงวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาครูวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ซึ่งมีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1) ศึกษาหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 3) ศึกษาบริบทการเรียนการสอน 4) สังเคราะห์กรอบแนวคิด การออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา และประยุกต์จากแนวคิดการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างซับซ้อนของ Jonassen (1997) ผลการวิจัยพบว่า กรอบแนวคิดในการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ได้แก่ 1) การกระตุ้นการสร้างโครงสร้างทางปัญญาที่ส่งเสริมการแก้ปัญหา 2) การสนับสนุนการปรับสมดุลทางปัญญาที่ส่งเสริมการแก้ปัญหา 3) การส่งเสริมการสร้างความรู้และการแก้ปัญหา และ 4) การสนับสนุนและช่วยเหลือการสร้างความรู้และการแก้ปัญหา และ 8 องค์ประกอบ คือ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งเรียนรู้ 3) เครื่องมือทางปัญญา 4) กรณีใกล้เคียง 5) ศูนย์ระดมความคิด 6) ศูนย์การแก้ปัญหา 7) ศูนย์ช่วยเหลือ และ 8) ศูนย์ให้คำปรึกษา

คำสำคัญ: สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, การแก้ปัญหา, ประเทศลาว, ระดับอุดมศึกษา

 

Problem solving is the ability to think, needed the complexity of cognitive process and important issue of education development in Laos. The purpose of this research was to synthesize the design framework of constructivist web-based learning environment model to enhance problem solving for higher education students in Laos. Model research phase I: was employed in this study. The documentary and survey research were employed in this study. The documentary research was to synthesize the theoretical framework and design framework. The survey research was to study the teaching and learning context and to assess the efficiency of the model. Qualitative method was employed to collect the data. The Data were analyzed by using descriptive and analytical summary and interpretation. The target groups were consisted of 10 experts and 30 undergraduate students, the third year of pre-service science teacher, during the first semester of academic year 2016, Faculty of Education, National University of Laos. The processes of data collection were as following: 1) to examine and analyze the principles and theories, 2) to review relevant literature, 3) to explore the context concerning with teaching and learning, and 4) to synthesize the design framework of constructivist web-based learning environment model emphasized on problem solving of Jonassen (1997). The result revealed that the constructivist web-based learning environment model comprised of 4 processes as following: 1) Activating the cognitive structures and to enhance problem solving, 2) Supporting for cognitive equilibrium, 3) Supporting knowledge construction and problem solving, and 4) Supporting and enhancing knowledge construction, and problem solving and 8 components as following: 1) Problem base, 2) Resource, 3) Cognitive tools, 4) Related case, 5) Collaboration, 6) Problem solving, 7) Scaffolding, and 8) Coaching.

Keywords: web-based learning environments, constructivist theories, problem solving, Laos, higher education


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.5

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus