ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสมรรถนะเฉพาะสายอาชีพนักกายภาพบำบัด กรณีศึกษา: คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

สุกัญญา ไก่นิล

Abstract


การศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสมรรถนะเฉพาะสายอาชีพนักกายภาพบำบัด กรณีศึกษา: คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล 2) ศึกษาระดับสมรรถนะตามสายอาชีพของนักกายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสมรรถนะตามสายอาชีพ 4) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาบุคลากรตามสมรรถนะสายอาชีพขององค์กร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากนักกายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 65 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการเสนอผลงานวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson‘s Product Moment Correlation)

ผลการศึกษาพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยแรงจูงใจด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 2) สมรรถนะเฉพาะตามสายอาชีพของนักกายภาพบำบัดโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสมรรถนะตามสายอาชีพของนักกายภาพบำบัด ด้านทักษะการประเมินวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาทางกายภาพบำบัด มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านจิตสำนึกการบริการ ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่องานกายภาพบำบัด และด้านทักษะการวิจัยทางกายภาพ ตามลำดับ 3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสมรรถนะตามสายอาชีพของนักกายภาพบำบัดอยู่ในระดับน้อย ซึ่งไม่สัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่เป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัย แสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงานใน 13 ด้าน ไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะเฉพาะตามสายอาชีพใน 4 ด้าน 4) แนวทางในการพัฒนาบุคลากรตามสมรรถนะสายอาชีพจำเป็นต้องมุ่งเน้นด้านการประเมินวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษา การพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยี และการพัฒนานักกายภาพบำบัดด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาผลงานทางวิชาการ

คำสำคัญ: แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, สมรรถนะ, สมรรถนะสายอาชีพ

 

The research on the relationship between the working motivation and the functional competencies of physical therapists: Case study of Faculty of Physical Therapy, Mahidol University aimed to 1) study the working motivation level of physiotherapists, Faculty of Physical Therapy, Mahidol University, 2) study the functional competencies level of physical therapists, Faculty of Physical Therapy, Mahidol University, 3) study the relationship between the working motivation and the functional competencies of physical therapists. 4) study the guidelines on staffs development according to organization’s functional competencies. This research was done with the quantitative and qualitative methods. Data were collected from 65 physiotherapists of Faculty of Physical Therapy, Mahidol University. The statistics of percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation were used for analyzing data.

The research results showed the followings: 1) The working motivation of physical therapists was at a high level. The motivation on the relationship with colleagues had the highest mean. 2) The functional competencies of physical therapists were at a high level. The functional competencies of physical therapists on the skill of disease diagnostic evaluation for the treatment on physical therapy had the highest mean, followed by service mind, the skill of using technology for physical therapy, and the skill of the research on physical therapy, respectively. 3) The working motivation and functional competencies of physical therapists was at low level. Which was not significantly correlate at the level of .05. This was not consistent with the hypothesis. Indicating that the working motivation on working success all 13 sides and didn’t correlate with the functional competencies all 4 sides. 4) As for the guidelines on staff’s development according to organization’s functional competencies, the organization should develop disease diagnostic evaluation and for technological development, and the development of physical therapists in research to develop academic works.

Keywords: motivation, motivation factors, hygiene factoras, competency, functional competency


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.31

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus