การพัฒนารูปแบบการสร้างทรัพยากรแบบเปิดด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต

ลลิดา บุญธง, ธีรวดี ถังคบุตร

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างทรัพยากรแบบเปิดด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) การศึกษาและสังเคราะห์กรอบแนวคิดของรูปแบบ 2) การพัฒนารูปแบบการสร้างทรัพยากรแบบเปิดฯ 3) การศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสร้างทรัพยากรแบบเปิดฯ และ 4) การรับรองรูปแบบการสร้างทรัพยากรแบบเปิดฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตปริญญาบัณฑิตที่ลงทะเบียนเรียนในวิชาการศึกษาโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาจากการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 19 คน จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสร้างทรัพยากรแบบเปิดฯ ที่พัฒนาขึ้นเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการสร้างทรัพยากรแบบเปิดฯ แบบวัดการคิดวิเคราะห์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-Test Dependent)

ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของการพัฒนาทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ 1) การวิเคราะห์ขอบเขตทรัพยากรแบบเปิด 2) การออกแบบทรัพยากรแบบเปิด 3) การพัฒนาทรัพยากรแบบเปิด 4) การนำทรัพยากรแบบเปิดไปใช้ 5) การประเมินผลทรัพยากรแบบเปิด วัตถุประสงค์ของรูปแบบ คือ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหาของแฟ้มสะสมงาน 2) สร้างแฟ้มสะสมงาน 3) การสะท้อนตนเอง 4) การออกแบบการเชื่อมโยง และ 5) นำเสนอแฟ้มสะสมงาน การวัดและประเมินผลโดยใช้แบบวัดการคิดวิเคราะห์และการประเมินตามสภาพจริง
2. นักศึกษาที่เรียนรู้ตามรูปแบบการสร้างทรัพยากรเรียนรู้แบบเปิดฯ ที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทำการประเมินรูปแบบการสร้างทรัพยากรเรียนรู้แบบเปิดด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ แล้วมีความคิดเห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม

คำสำคัญ: ทรัพยากรแบบเปิด, แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

 

The objective of the research study was to develop a creation model of open educational resources with electronic portfolios to increase analytical thinking ability of undergraduate students. The research and development (R&D) procedures was divided into four stages: 1) developing the main concept of open educational resources with electronic portfolios to increase analytical thinking ability (OER-EPort), 2) developing the OER-EPort model, and 3) determining the results of OER-EPort model; 4) evaluating the OER-EPort model. The sample group of the study was 19 undergraduate students from Chulalongkorn University who had enrolled to the Project for Computer Education. The experiment period was 12 weeks. The research tools were the OER-EPort model and the analytical thinking ability test. Data were analyzed using the frequency, the arithmetic mean, the standard deviation and the t-Test for Dependent.

The results of the study revealed those:
1. The OER-EPort model consisted of 5 components which were: 1) scope, 2) design OER, 3) develop OER 4) implement OER and 5) evaluate OER. The objective of the model is to increase analytical thinking ability. The instructional process consisted of 5 stages. The first stage was the objective stage, the second stage was created stage, the third stage was feedback, the fourth stage was connected stage and the fifth stage was presented stage. The evaluation of learning was to measure a critical thinking skills development and authentic assessment.
2. The undergraduate students learned with the OER-EPort model had a statistically significant difference of the analytical thinking skills posttest scores over the pretest scores .01 level.
3. The experts agree that a Open Educational Resources with Electronic Portfolios Model was appropriateness at an excellent level of satisfaction.

Keywords: open educational resources, electronic portfolios, analytical thinking ability


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.7

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus