ผลของกิจกรรมแนะแนวตามหลักอิทธิบาท 4 ต่อการเพิ่มความคิดเชิงบวกและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจรัสพิชากร จังหวัดนครศรีธรรมราช
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมแนะแนวตามหลักอิทธิบาท 4 ต่อการเพิ่มความคิดเชิงบวกและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวฯ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของกิจกรรมแนะแนวฯ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวฯ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มทดลองที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 โรงเรียนจรัสพิชากร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 12 คน โดยเข้าร่วมกิจกรรม 12 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที และนักเรียนกลุ่มควบคุมคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กิจกรรมแนะแนวตามหลักอิทธิบาท 4ฯ 2) แบบวัดความคิดเชิงบวกและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมฯ และต่อผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติใช้ Non Parametric Statistics (The Wilcoxon Matches Pairs Signed Rank Test และ The Mann Whitney U Test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภายหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดความคิดเชิงบวกและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่ากิจกรรมแนะแนวตามหลักอิทธิบาท 4 ต่อการเพิ่มความคิดเชิงบวกและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค สามารถเพิ่มความคิดเชิงบวกและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนจากแบบวัดความคิดเชิงบวกและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคภายหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่ากิจกรรมแนะแนวตามหลักอิทธิบาท 4 ต่อการเพิ่มความคิดเชิงบวกและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค สามารถเพิ่มความคิดเชิงบวกและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคกับนักเรียนกลุ่มทดลองได้มากกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม
คำสำคัญ: กิจกรรมแนะแนวตามหลักอิทธิบาท 4, ความคิดเชิงบวก, ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค
The purposes of this research were: 1) to study the effects of activities based on Iddhipada 4 on increasing positive thinking and adversity quotient of students in Mathayomsuksa two after participating in the guidance activities 2) to compare the results of the guidance activities of Mathayomsuksa two students after participating in the guidance activities between the experimental group and the control group. This research was the quasi experimental research. The experimental group were 12 students of Mathayomsuksa 2/8, academic year 2016, Jaruspichakorn School. They participated in the activities for 12 sessions, 50 minutes per each session. The control group was Mathayomsuksa 2/6 were 12 students. The instruments used in this research were: 1) the guidance activities based on Iddhipada 4 2) the positive thinking and adversity quotient test 3) the student’s self-report in each session and 4) the student’s opinion questionnaire toward the activity and the researcher. Mean, standard deviation, summary content, Non Parametric Statistics (The Wilcoxon Matches Pairs Signed Rank Test and The Mann Whitney U Test) were utilized for analyzing data.
The research results indicated that
1. The posttest scores from the positive thinking and adversity quotient test of the experimental group were higher than their pretest scores at 0.05 level of significance. It showed that the activities based on Iddhipada 4 to increase positive thinking and adversity quotient could increase positive thinking and adversity quotient of Mathayomsuksa two students effectively.
2. The experimental group posttest scores from positive thinking and adversity quotient were higher than posttest scores of the control group at 0.05 level of significance. It show that the activities based on Iddhipada 4 to increase positive thinking and adversity quotient could increase positive thinking and adversity quotient of the experimental group than the control group who did not participate in the activities.
Keywords: activities based on Iddhipada 4, positive thinking, adversity quotient
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.27
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus