การใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

วิรดา อรรถเมธากุล, วรรณี ศรีวิลัย, ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วริศรา ม่วงช่วง

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้บทเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อบทเรียนวิชาโภชนาการ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี จำนวน 97 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาโภชนาการ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .94 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลทั้งหมด 97 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 95.9 ร้อยละ 52.6 มีประสบการณ์การเรียนรู้จากสื่อบนระบบอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยเท่ากับ 6.98 ปี โดยมีการเข้าเรียนในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของวิทยาลัยฯ ที่จัดทำด้วยโปรแกรม Moodle มีการเข้าเรียนตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไปจนถึงนับครั้งไม่ถ้วน ร้อยละ 91 และความถี่เฉลี่ยของการเข้าเรียนตั้งแต่สัปดาห์ละครั้งขึ้นไปเท่ากับร้อยละ 55.6 มีการเข้าเรียนในเว็บไซด์ classstarts.org ตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไปจนถึงนับไม่ถ้วน ร้อยละ 26.8 และความถี่เฉลี่ยของการเข้าเรียนตั้งแต่สัปดาห์ละครั้งขึ้นไปเท่ากับร้อยละ 46.4 โดยทำแบบทดสอบเพื่อเป็นคะแนนเก็บ อ่านเอกสารประกอบการสอน ฝึกทำแบบทดสอบบทต่างๆ ดูสไลด์และคลิปวิดีโอประกอบการสอนตามลำดับ มีความคิดเห็นต่อการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับดี คือ ความสามารถและความพร้อมของผู้เรียน ความต้องการของผู้เรียน ปัจจัยเอื้อ การเสริมสร้างการเรียนรู้ และทัศนคติของผู้เรียน และมีความพึงพอใจการเรียนวิชาโภชนาการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, นักศึกษาพยาบาล

 

The purpose of this study was to examine nursing students’ satisfaction of online learning. The samples were 97 nursing students enrolling the Nutrition subject. A questionnaire was used as a research instruments to collect the data of students’ satisfaction with this online learning method. Before being implemented, the developed questionnaire was considered by experts. The index of congruency of the questionnaire was 0.67-1.00, while the reliability was .94 and .89 respectively. A descriptive statistic based on a percentage, mean and standard deviation was investigated.

It was found that almost all nursing students were female (95.9%). About half of them (52.9%) have held a cumulative Grade Point Average (GPA) at between 2.51 to 3.00. All students have online learning experiences for 6.98 years. Ninety-one percent of the samples accessed the e-Learning through Moodle for more than 5 times in a week. In this learning activity, approximately 27% did quizzes and practice tests, read online texts, and reviewed powerpoint slides Almost 50% of them accessed an e-Learning for once a week or more. They read an online content, reviewed slides, did quizzes and practice tests, and other activities respectively, By and large, an average online learning satisfaction on this subject was at a high level. Each item of students’ ability, readiness, facilitating factors, needs, and attitude was in high scores. The findings supported that the nursing students were satisfied with e-Learning as one teaching and learning method which enabled them to have more than one learning channels to achieve study outcomes.

Keywords: internet learning, nursing students


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.53

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus