รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

อัจฉริยา สุรวรเชษฐ, ชัยพจน์ รักงาม, สฎายุ ธีระวณิชตระกูล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเอง 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 60 คน การสร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองใช้วิธีการประชุมระดมพลังสมอง สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม วิเคราะห์เนื้อหา และใช้แบบวัดสถานการณ์ โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม หลังจากได้รูปแบบแล้วได้นำไปทดลองกับนักเรียนในระดับชั้นเดียวกัน ทั้งจากโรงเรียนเดิมและต่างโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกันในละแวกนั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย (X_) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบ t-test แบบ dependent และ t-test แบบ independent ตามลำดับ

ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 6 ขั้น คือ 1) สร้างความเข้าใจ 2) สร้างกฎเกณฑ์ความรับผิดชอบ 3) เอาใจใส่ดูแลพฤติกรรม 4) สร้างความตระหนักในคุณค่า 5) สร้างตัวแบบที่ดี 6) เชื่อมโยงกับความเป็นจริงในอนาคต
2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบ พบว่า พฤติกรรมของนักเรียนหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา สูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า พฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนในกลุ่มทดลองสูงกว่าโรงเรียนในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

คำสำคัญ: พฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเอง, นักเรียนระดับประถมศึกษา

 

This study was designed based on Participatory Action Research and was aimed to 1) develop a model for self-honesty behavior, 2) compare self-honesty behavior of primary school students between before and after the implementation, and 3) compare among different schools as experimental and control group. The group of participants obtained from students at the fifth grade level which devided into 2 groups for the experimental group with control group, and 60 students for each. Brainstorm, in-depth interview, focus group, content analysis, and situational test with participative observation were selected as the research processing methods, whereas mean (X), standard deviation (S.D.), t-test dependent, and t-test independent were used for data analysis. The model was constructed and experimented with same grade students, both from the same schools and the neighboring schools in the same context.

The results were as follows:
1. The model of self-honesty behavioral development of primary school students using Participatory Action Research (PAR) consisted of essential steps as listed: 1) Build understanding, 2) Construct rules and duty, 3) Concern of behavior, 4) Build value awareness, 5) Build a role model 6) Show the plausible reality.
2. The comparison results of prior and posterior model implementation towards self-honesty of primary school students showed that self-honesty behavior of the students after implementing the developed model was higher than those before the implementation at significance level of .01
3. The comparison results towards self-honesty behavior of primary school students between the experimental group and the control group revealed that the students’ behavior in experimental group was higher than those in control group at significance level of .01

Keywords: self-honesty behavior, primary school students


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.25

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus