ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อนัญญา เจียนรัมย์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลกับความต้องการของคนพิการต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับการจดทะเบียนคนพิการกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอาชีพและรายได้ อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม อยู่ในระดับน้อยที่สุด
2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และสาเหตุความพิการ ที่แตกต่างกันไม่ทำให้ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการแตกต่างกัน แต่ลักษณะความพิการที่แตกต่างกัน ทำให้ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ควรดำเนินการ ดังนี้ 1) จัดให้มีการฝึกอบรม เพื่อให้ความรู้ในด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอาชีพ และด้านรายได้ 2) จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ 3) ปรับปรุงที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อมและจัดสิ่งจำเป็นในชีวิตให้คนพิการ

The objectives of this research were 1) to study the needs for life quality development of the disabled, 2) to compare the personal aspect with the life quality of disabled and 3) to suggest the ways and mean to improve the life quality of disabled. The sample were 63 disabled who registered with Phra Nakhon Si Ayutthaya Social and Human development office. The tool for data collection was questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, means, standard deviation, t-test and One-way ANOVA with .05 significant level.
The findings of this research were as follows:
1. The needs for life quality development of the disabled in overall were in the high level. While considered in detail found that the aspect of physical and mental health, residence environment, education and facilities were also at high levels. The occupation and income were at moderate levels, and social participation was at the lowest level.
2. The result of comparison found that the different sex, age, status, education, occupation, monthly income and the cause of disability were not affected the needs for life quality development. But the different types of disability affected the different needs for life quality development of the disabled at .05 level of significant.
3. The recommendation for improvement of the needs of life quality development of disabled in Sanam Chai Subdistrict Administrative Organization consisted of: 1) The training for knowledge providing about personal health, mental, occupation and income should be organized, 2) The education fund for disabled should be setting up and 3) The accommodation, environment and necessities of disabled life should be improved.

 


Full Text:

PDF

References


ณฤทัย เกตุหอม. (2555). ความต้องการได้รับสวัสดิการทางสังคมของคน พิการในเขตอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เบญจวรรณ คงอรุณ. (2553). การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิชัย ไผ่พงษ์. (2554). การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายของเทศบาล ตำบลไทรน้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุจินต์ สว่างศรี. (2550). การส่งเสริมอาชีพคนพิการทางสติปัญญาของ โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี. โครงการวิจัย ตามแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สุธินี ตรังคตระการ. (2555). ความต้องการสวัสดิการเบี้ยความพิการของ ผู้พิการในอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2552). ประกาศพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

อลงกรณ์ อรรคแสง. (2547). พัฒนาการการจัดโครงสร้างองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นของไทยเปรียบเทียบต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอื้องทิพย์ ไตรบำรุง. (2550). การศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคม ของคนพิการในเขตเทศบาลนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.8

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus