องค์ประกอบการจัดการเชิงการตลาดของสถานศึกษาอาชีวะเอกชนเพื่อลดการขาดแคลนแรงงานภาคอุตสาหกรรม เขตภาคใต้ประเทศไทย

พกานต์ ตันติกรพรรณ, ศศิวิมล สุขบท

Abstract


งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดทางการตลาดและแนวคิดการบริหารการศึกษามาเป็นกรอบวิจัยซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการจัดการเชิงการตลาดของสถานศึกษาอาชีวะเอกชนเพื่อลดการขาดแคลนแรงงานภาคอุตสาหกรรม เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ 10 ราย และผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวะเอกชน 10 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sample) ในจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฏร์ธานี โดยพิจารณาจากจังหวัดที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาก 3 อันดับแรกและทำการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) พบ 11 องค์ประกอบที่มีความสำคัญในการจัดการเชิงการตลาดของสถานศึกษาอาชีวะเอกชน ได้แก่ หลักสูตร งบประมาณดำเนินการ ค่าตอบแทน และวิทยฐานะของครูผู้สอน ลักษณะทางกายภาพและสถานที่ตั้ง คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา การประเมินผลโดยผู้ว่าจ้าง ทักษะการปฏิบัติตนและการตัดสินใจของผู้เรียน การกำหนดมาตรฐานผู้เรียน ความสัมพันธ์ในชุมชนและสังคม การประชาสัมพันธ์ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ พบว่า องค์ประกอบด้านหลักสูตรและคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการลดการขาดแคลนแรงงานภาคอุตสาหกรรม

คำสำคัญ: การจัดการเชิงการตลาด, ตลาดแรงงาน, โรงเรียนศึกษาอาชีวะเอกชน

 

This study used the marketing and educational administration concepts as the research framework. It was aimed to study the marketing management components of private vocational schools to reduce the shortage of industrial workers. The researchers employed the qualitative research method comprising the literature review and interviews with 10 entrepreneurs and 10 private vocational schools in the top three southern provinces with the highest economic growth rates, comprising the provinces of Nakhon Si Thammarat, Songkhla, and Surat Thani. The obtained data were processed using the content analysis method. The study found 11 important elements for marketing management of private vocational schools, comprising curriculum, operating budgets, salaries and academic accreditation of the instructors, physical environment and location of the schools, quality of graduates, quality assessments by employers, behaviors and decision making ability of learners, accreditation of learners, neighborhood and social relations, public relations, networking and involvement of stakeholders. The components of curriculum and graduate qualification were found as the most important elements in reducing the shortage of industrial workers.

Keywords: marketing management, labor market, private vocational schools


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.18

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus