ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญของผู้ต้องขังหญิง กรณีศึกษา: ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร

ศุภิศา ก้อนแพง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้หญิงที่กระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญผู้ต้องขังหญิง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญของผู้ต้องขังหญิง เพื่อเสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไขการกระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญของผู้ต้องขัง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังหญิงที่กระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญในทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร จำนวน 333 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยล่ะ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ (multiple linear regression) พบว่า ผู้ต้องขังหญิงส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 38 ปี มีอายุโดยเฉลี่ยในขณะกระทำความผิด 34 ปี สถานภาพส่วนใหญ่สมรสหรือมีสามีแล้ว มีบุตรโดยเฉลี่ย 2 คน ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย และอาชีพรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 บาท มีภาระหนี้สินฐานะความเป็นอยู่พอมีพอกินก่อนถูกจับอาศัยอยู่กับสามี ชีวิตสมรสบิดามารดาหย่าร้างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวรักใคร่เข้าใจกันดี ได้ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดในคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านความกดดันทางสังคมโดยเฉพาะผู้ที่มีความกดดันจากครอบครัว การเงินมีผลต่อกระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะความถี่-ความบ่อยในการคบเพื่อนหรือบุคคลที่กระทำความผิดมีผลต่อการกระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญของผู้ต้องขังหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ข้อเสนอแนะ ควรมีการกำกับดูแลสื่อต่างๆ ในการเผยแพร่ภาพความก้าวร้าวรุนแรง วิธีหรือพฤติกรรมในการก่ออาชญากรรม เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเลียนแบบ ส่งเสริมสถานภาพสตรีทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ผู้หญิงช่วยเหลือและพึ่งพาตนเองได้ จัดอบรมธรรมะภายในชุมชนเพื่อให้เกิดความยับยั้งชั่งใจเกรงกลัวต่อบาป และควรมีกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพความปลอดภัยเกี่ยวกับผู้หญิงให้มากขึ้น

คำสำคัญ: ความผิดคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ, ผู้ต้องขังหญิง, ทัณฑสถานหญิงกลาง

 

This research aimed to 1) study general characteristics of women who committed the serious offences, 2) study the factors affecting the serious offences of the female prisoners, and 3) propose the guidelines on prevention and solution to the problems of the serious offences of the prisoners. The sample groups consisted of 333 female prisoners in the Central Women Correctional Institution, Bangkok, who committed the serious offences. Data were analyzed with the statistics of frequency, percentage, standard deviation, mean, the maximum, and the minimum. And there was multiple linear regression analysis. The average ages of most of the female prisoners were 38 years old. Their average ages at the time of the offence were 34 years old. Most of the sample groups were married and had two children. They received the primary education. They were merchants and hirelings. Their monthly income was 5,000 baht and they got into debt. Their existence was moderate. Their parents were divorced and the relationship between family members was good. Before being arrested, they lived with their husbands. It was further found that the factor most affected the serious offences was the factor of social pressure of people with family pressure, money significantly affected the serious offences at the level of 0.05 followed by the factor of differential association, frequent association with friends or people committing the serious offences significantly affected the serious offences of the female prisoners at the level of 0.05.

As for the recommendations, related agencies should control various media which disseminate the pictures on violence or crime behaviors to prevent people from imitating the mentioned behaviors. They should promote women’s economic and social status to enable women to help and rely on themselves. Related agencies should organize dharma activities in the communities to prevent people from expressing immoral behaviors. Moreover, Women Protection Law should be strongly provided.

Keywords: the violent offence, female offenders, the Central Women Correctional Institution


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.13

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus