ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบนที่มีต่อการประกอบอาชีพ

นราธิป ธีรธนาธร

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตภาคใต้ตอนบนที่มีต่อการประกอบอาชีพ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังของนักศึกษา สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบนที่มีต่อการประกอบอาชีพ จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา สถานภาพ และสถาบันการศึกษา 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบนที่มีต่อการประกอบอาชีพ จําแนกตามลำดับของการเลือกงาน วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบน จำนวน 287 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .916 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบที การทดสอบเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ โดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบนที่มีต่อการประกอบอาชีพ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการทดสอบการเปรียบเทียบความคาดหวังของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบนที่มีต่อการประกอบอาชีพ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา และสถาบันการศึกษา พบว่า มีความคาดหวังในการประกอบอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับสถานภาพ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการทดสอบการเปรียบเทียบความคาดหวังของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบนที่มีต่อการประกอบอาชีพ จำแนกตามลำดับของการเลือกงาน 5 ลำดับแรก ได้แก่ งานสรรหาและคัดเลือกบุคลากร งานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร และงานทางด้านแรงงานสัมพันธ์ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับงานบริหารค่าตอบแทนและงานประกอบอาชีพอิสระ พบว่า มีความคาดหวังในการประกอบอาชีพ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: ความคาดหวัง, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, การประกอบอาชีพ

 

The purposes of this research were 1) to study the expectations on chosen jobs of undergraduate students in the Human Resource Management Program of Rajabhat University group upper south region, 2) to compare the expectations on chosen jobs of undergraduate students classified by personal factors and 3) to compare the expectations on chosen jobs of undergraduate students classified by type and order of jobs in the top five choices of selection. The methods used in this research were survey research. The samplings in this research were stratified random sampling from 287 of undergraduate students in the Human Resource Management Program of Rajabhat University group upper south region. This research used a questionnaire with Cornbach’s alpha confidence of 0.916. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, T-Test, F-Test, one-way analysis of variance (ANOVA), using statistical package software.

The results showed that 1) Undergraduate students in the Human Resource Management Program of Rajabhat University group upper south region expectations as a whole were at a high level. 2) Sex, age, college years and university significantly affected students’ expectations. 3) Recruitment and selection job, training development and employee relations job did not have a significantly affected students’ expectations. However, executive compensation job and self-employed had a significantly affected students’ expectations.

Keywords: expectations, undergraduate students, Rajabhat University, employment


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.29

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus