ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา: ตลาดน้ำอัมพวา

วรรณวิมล ภู่นาค

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเพื่อเสนอแนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตลาดนํ้าอัมพวา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 23 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเขตสมุทรสงคราม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอัมพวา กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลอัมพวา โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มย่อย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ชุมชนมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเมือง พบว่า ไม่สามารถดำเนินการจัดการอย่างเป็นระบบและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนได้ ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และด้านสังคมและวัฒนธรรม พบว่า มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างชุมชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว เพื่อตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของวิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ พบว่า ชุมชนขาดการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการได้รับประโยชน์ พบว่า ชุมชนไม่มีการรวมตัวกันเพื่อประกอบธุรกิจร่วมกัน และส่วนใหญ่ชุมชนจะมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว

ผลกระทบเชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ผลกระทบเชิงบวกด้านสังคม ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของชุมชนดีขึ้น มีสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ผลกระทบเชิงบวกด้านเศรษฐกิจ พบว่า ชุมชนมีการประกอบอาชีพหลากหลายมากขึ้นและเศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น ผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ก่อให้เกิดปัญหานํ้าเสีย ทรัพยากรทางธรรมชาติลดน้อยลง ผลกระทบเชิงลบด้านเศรษฐกิจ พบว่า สินค้าและบริการ ค่าครองชีพต่างๆ ในชุมชนสูงขึ้น ผลกระทบเชิงลบด้านสังคม พบว่า เกิดการอพยพย้ายถิ่นของชุมชนริมคลองในตลาดนํ้าและเกิดปัญหาการขัดผลประโยชน์ของคนในชุมชน

จากการศึกษาทำให้พบผลการวิจัยที่เป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตลาดนํ้าอัมพวา ได้แก่ การรักษาอัตลักษณ์ชุมชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน การวางแผนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระยะยาว และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน

คำสำคัญ: ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว, การมีส่วนร่วม, ผลกระทบ

 

This research is qualitative research, by the objectives were to study 1) for study the potentials of managing community tourism by community of Amphawa floating market 2) for study to the participating of community of tourism management of Amphawa floating market 3) for study effective that occurred from tourism management of Amphawa floating market 4) for present the approach way to build the community potential of tourism management of Amphawa floating market, the principle group of information all 23 people, including Amphawa sub-district in the area municipality organization 2 people, entrepreneur tourism business 6 people, public people in the Amphawa municipality sub-district 15 people. By using with sample selection specific group, data collecting by depth interview and focus group discussion and information analyzed information descriptive.

The results found that the potential community tourism management, by environment community found the community have activities tourism that occurred learning environment and nature resource. By the political found that tourism management divide to small group, caused it can’t operate in the system and divide obvious responsible. The economic field, the community have more revenue from tourism management from small business engage and from labor employment. The management participating found that the community lack of the participate in continually. The participating of community in receive of the benefit found that the community doesn’t assemble combine in order to making business. But to engage business by individual. Mostly of community will have the revenue support from tourism, the effective positive environment in environment, be aware to environment value and nature resource of the community, the social effect in positive effect to quality life of community better. There are public utility and more facility, The positive economic found that the community making several occupation more and get better economic community. The effective environment negative found that caused to water-spoil problem, nature resource reduce, the negative economic effect found that the product and service, cost of living of the community higher. The social negative found that emigrate of the community canal-side at floating market and caused of the problem that the conflict of benefit to the people in the community.

The approach way to support community potential in the tourism management by community of Amphawa floating market including cure to identify community go together with tourism develop. The environment maintenance should be making project conservation environment continually. Be aware to the importance and value highly environment and nature resource in the community more, should prepared the training to community have knowledge, ability in the field of business and marketing more, in order to competition with out of area investor. Especially development personal tourism, in order to the tourism permanently. And support the community to participated, should provide meeting in order to open the community participated express the idea continually, in order to acknowledge the problem to operating and find the approach properly or solve the problem and prevention equal to update situation more.

Keywords: The potential community tourism management, Participating, Effect


Full Text:

PDF

References


กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์.

เกสร สว่างพนาพันธุ์. (2555). ศักยภาพทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนตาลโตนด: กรณีศึกษาชุมชนตาลโตนด ตำบลถํ้ารงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ปรีชา คุณแสน. (2555). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

มนัส สุวรรณ. (2545). รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร: โครงการศึกษาและจัดทำคู่มือ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทผจญภัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มินตรา ติรณปริญญ์. (2551). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในบริเวณเทศบาลตำบลอัมพวาและพื้นที่ใกล้เคียง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมล จิโรจพันธุ์. (2554). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงดาว.

ศิริภา คุณพระเนตร. (2553). ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีศึกษาหมู่บ้านแสมชาย ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์. (2556). อัมพวาโมเดลฟื้นฟูชุมชนริมคลอง. สืบค้นจาก http://www.chula- alumni.com/scripts/ViewAllPublicNews.asp?ID=3994

ศุภลักษณ์ วิริยะสุมน. (2551). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การประมวลองค์ความรู้ สถานภาพและสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง. ลพบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

อุดร วงษ์ทับทิม, และสุภาวิณี ทรงทรวาณิชย์. (2545). นิเวศน์วัฒนธรรม: รากฐานใหม่แห่งการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.9

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus