ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการบำบัดตนเองด้วยเรกิต่อความเครียดและความดันโลหิตในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

รัตนาวดี แก้วเส้ง, ทรงพร จันทรพัฒน์, ปรียา แก้วพิมล, วิมลรัตน์ จงเจริญ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการบำบัดตนเองด้วยเรกิต่อความเครียดและความดันโลหิตในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จัดให้เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมและกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติของแผนกฝากครรภ์ กลุ่มละ 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียด และเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ 2) เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการบำบัดตนเองด้วยเรกิ โดยแบบประเมินและโปรแกรมการพยาบาลดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบประเมินความเครียดได้ประเมินความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาคเท่ากับ .86 ส่วนเครื่องวัดความดันโลหิตได้ผ่านการประเมินความเที่ยงจากงานอุปกรณ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลทุก 1 ปี วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา และสถิติไคสแควร์ (chi-square) และทดสอบความแตกต่างของความเครียด และความดันโลหิต โดยใช้สถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (repeated-measures ANOVA) และสถิติทีอิสระ (independent t-test)

ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความเครียดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (F(1.51, 72.32)=2.59, p>.05 และ F(1, 48)=3.03, p>.05) กลุ่มทดลองมีความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัวต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (F(2, 96)=7.07, p<.01 และ F(1.70, 81.59)=8.36, p<.01) และมีความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบและคลายตัวต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(1, 48)=14.33; p<.01 และ F(1, 48)=5.68; p<.05) ตามลำดับ

คำสำคัญ: การบำบัดตนเองด้วยเรกิ, ความเครียด, ความดันโลหิตสูง, สตรีตั้งครรภ์

 

This study aimed to examine the effects of self-Reiki healing programme on stress and blood pressure of pregnant women with hypertensive disorder. The subjects of women with hypertensive disorder who met the inclusion criteria were divided into an experimental group who received the programme, and a control group who received the practice guideline of the antenatal clinic. The study instruments consisted of 2 parts, which were a demographic data, a stress assessment scale, the automatic blood pressure equipment, and the intervention program. The content validity of the programme and the questionnaires were validated by three experts. Reliability of the stress assessment scale was tested and yield Cronbach’s alpha coefficient of .86. Whereas, the automatic blood pressure equipment was audited by the hospital medical devices division once a year. Repeated-measures ANOVA and independent t-test were used to analyze differences in mean score of stress and blood pressure.

The results revealed that the stress of the experimental group was not lower than before receiving the programme and was not significantly lower than the control group (F(1.51, 72.32)=2.59, p>.05, and F(1, 48)=3.03, p>.05). The systolic and diastolic blood pressure in the experimental group after receiving the programme were lower than that before receiving the programme (F(2, 96)=7.07, p<.01, and F(1.70, 81.59)=8.36, p<.01), and also were significantly lower than that in the control group (F(1, 48)=14.33; p<.01, and F(1, 48)= 5.68; p<.05) respectively.

Keywords: self-Reiki healing, stress, hypertension, pregnant women


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.14

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus