การบริหารจัดการอุทกภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

ชนากานต์ อดุลยพิจิตร

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการอุทกภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาประสิทธิผลด้านการบริหารจัดการอุทกภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันต่อกระบวนการจัดการอุทกภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการบริหารจัดการอุทกภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง 1 คน/ครัวเรือน ทั้งสิ้น 344 คน/ครัวเรือน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เป็นการสำรวจความคิดเห็น และความพึงพอใจของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทกภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิดที่ผู้วิจัยได้พัฒนาและปรับปรุงขึ้น

ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการบริหารจัดการอุกทกภัย และความพึงพอใจของประชาชนต่อประสิทธิผลด้านการบริหารจัดการอุทกภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว อยู่ในระดับมาก โดยประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อกระบวนการบริหารจัดการอุทกภัยในด้านการสั่งการของผู้บริหารที่มีความเหมาะสมเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นด้านการวางแผนจัดการอุทกภัย ด้านการจัดการองค์การให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์อุทกภัย และด้านการควบคุมกระบวนการจัดการอุทกภัย ตามลำดับ ซึ่งประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อประสิทธิผลด้านการบริหารจัดการอุทกภัยในช่วงการฟื้นฟูหลังเกิดภัยพิบัติเป็นอันดับแรก และพึงพอใจต่อการบริหารจัดการอุทกภัยในช่วงระหว่างเกิด และก่อนเกิดภัยพิบัติเป็นอันดับรองลงมาตามลำดับ โดยปัจจัยส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ไม่มีผลต่อความคิดเห็นในกระบวนการบริหารจัดการอุทกภัย และความพึงพอใจในประสิทธิผลด้านการบริหารจัดการอุทกภัย

คำสำคัญ: กระบวนการบริหารจัดการอุทกภัย, ประสิทธิผลด้านการบริหารจัดการอุทกภัย

 

The objectives of this research were study to the process management of Flood Disaster of Tambon Rahaeng Administration organization, Lat Lum Kaeo District, Pathum Thani in order to study the effectiveness of The Flood Disaster management of Tambon Rahaeng, Lat Lum Kaeo District, Pathum Thani. To study compare the opinion between individual factor with Flood Disaster Management of Tambon Rahaeng Adminstration Organization, Lat Lum Kaeo District, Pathum Thani and the study compare the satisfication of the population between individual factor with effectiveness flood disaster management of Tambon Rahaeng Administration Organization, Lat Lum Kaeo District, Pathum Thani, which this research had method in quantitative research. (Quantitative research) data collect from the population sample group 1 person/household, total all 344 person/household, which this research the researcher using with survey (Survey Research) is to survey the opinion and the satisfaction of the people related with Flood Disaster management of Tambon Rahaeng Administration Organization, Lat Lum Kaeo District, Pathum Thani, by using closed and open-ended questionnaires, researchers have developed and enhance.

The results found that the public opinion to the flood disaster process management and satisfaction of the population on the effectiveness of the flood management, Tambon Rahaeng Administration Organization, Lat Lum Kaeo District at the most level. By the samples have the opinion to the management of floods process in the direction of the executive management are reasonable at the first, follow to flood management planning, Management organizations that are appropriate to the flood situation and control of flood management and process, respectively, which the sample is satisfied with the effectiveness of the management of flood restoration after disaster first and satisfaction with the management during the flood, and before the disaster as minor, respectively. By individual factors whether will be sex, age, occupation, education and duration of residence is different. No effect on the flood management process and satisfaction in the management of floods.

Keywords: Flood Disaster management process, Effectiveness of floods management


Full Text:

PDF

References


ขนิษฐา ปาลโมกข์. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันมหาอุทกภัย ศึกษาเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ชาญชัย ราชโคตร. (2544). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของสำนักทะเบียนอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.

รัตนา สายคณิต. (2547). การบริหารโครงการ: แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์ภูมิอากาศ สำนักงานพัฒนาอุตุนิยมวิทยา. (2554). ปริมาณฝนและอุทกภัย 2554. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มโรงพิมพ์และออกแบบกรมอุตุนิยมวิทยา.

อภินันท์ เพชรโชติ. (2553). การบริหารจัดการเพื่อการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบางซ้าย อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.5

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus