ศึกษาปัญหาการใช้รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย

กาญจนา สหะวิริยะ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างประโยค การจำแนกความหมายเฉพาะตัว และกฎการใช้รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลี 2) ศึกษาปัญหาการใช้รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาไทยที่กำลังศึกษาวิชาเอกภาษาเกาหลีในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งหมด 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและความคิดเห็นต่อการศึกษารูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลี ส่วนที่ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการทดสอบความสามารถในการใช้รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลีด้านโครงสร้างประโยค การเข้าใจความหมายเฉพาะตัว และกฎการใช้ต่างๆ

ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาไทยยังไม่สามารถเข้าใจโครงสร้างประโยค ความหมายเฉพาะตัว และกฎการใช้รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลีได้อย่างถูกต้อง เพราะ 1) รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลีมีความหมายที่หลากหลาย เช่น รูปประโยค ‘-(으)ㄴ/는 /(으)ㄹ 것 같다’ มีความหมายเฉพาะตัวที่แตกต่างกันทั้งหมด 5 ความหมาย 2) โครงสร้างประโยคของรูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลีต่างกัน แต่ความหมายเฉพาะตัวเหมือนกัน เช่น รูปประโยค ‘-(으)ㄴ/는 /(으)ㄹ 것 같다’ รูปประโยค ‘-(으)ㄴ가/나 보다’ และรูปประโยค ‘-(으)ㄴ/는/(으)ㄹ 모양이다’ สื่อความหมายถึง การคาดคะเนที่มีหลักฐานทางอ้อม และการคาดคะเนที่เปลี่ยนจากจิตวิสัยเป็นวัตถุวิสัย 3) รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลีมีข้อกำหนดการใช้ที่ชัดเจน กล่าวคือ เมื่อต้องการสื่อความหมายถึงการคาดคะเนที่ไม่มีความชัดเจนต้องใช้รูปประโยค ‘-(으)ㄴ/는/(으)ㄹ 지(도) 모르다’ มักใช้กับคำว่า ‘혹시’ (“ไม่แน่ใจว่า...”) เพราะเป็นคำที่สื่อความหมายถึงความไม่ชัดเจน
2. สาเหตุที่ทำให้นักศึกษาไทยมีความผิดพลาดในการเลือกรูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลี คือ การได้รับอิทธิพลจากภาษาแม่ กล่าวคือ รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาไทยกับภาษาเกาหลีมีความแตกต่างกัน โดยรูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาไทยเกิดจากความคิดของผู้พูดเป็นหลัก สามารถสื่อความหมายถึง อนาคต ความตั้งใจ ความชัดเจน ความไม่ชัดเจน และความเป็นไปได้ เป็นต้น นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน (Sahaviriya, 2016, p. 24) ซึ่งต่างจากภาษาเกาหลีที่มีการจำแนกความหมายเฉพาะตัวของรูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนอย่างหลากหลายและชัดเจน ทำให้นักศึกษาไทยเกิดความสับสนในการเลือกใช้ให้ตรงกับสถานการณ์ต่างๆ เช่น รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาไทยไม่มีการจำแนกความหมายเกี่ยวกับการมีหรือไม่มีประสบการณ์ของผู้พูด เพื่อนำไปคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นด้วยอิทธิพลของภาษาแม่ นักศึกษาไทยจึงเข้าใจว่าการไม่มีประสบการณ์ในการคาดเดาสิ่งต่างๆ คือ การคาดเดาที่ไม่มีความชัดเจน เพราะมีการปรากฏความหมายคล้ายกับคำแสดงการคาดคะเนในภาษาไทย

จากผลการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนรูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลีเพื่อนักศึกษาไทย ด้วยรูปแบบต่างๆ ดังนี้ 1) รูปแบบการสอนด้วยบริบทในประโยค 2) รูปแบบการสอนด้วยหลักการใช้ 3) รูปแบบการสอนด้วยหลักความเกี่ยวข้อง และ 4) รูปแบบการสอนด้วยหลักการลงทุน

คำสำคัญ: รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเน, ภาษาเกาหลี, นักศึกษาไทย

 

The objectives of this research are 1) to study sentence structures, distinguishment of specific meanings, and rules of Korean guessing expressions, and 2) to study the problems in using Korean guessing expressions. The samples were 107 Thai learners studying Korean in 4 universities which are Prince of Songkla University, Naresuan University, Srinakharinwirot University, and Chiangmai Rajabhat University. The data collection tools were the questionnaires divided into two parts: 1) general information and the respondents’ opinions towards the learning of Korean guessing expression structures, and 2) Korean guessing expression tests concerning Korean sentence structures, comprehension of specific meanings, and grammar rules.

The results of this study were
1. Thai learners cannot comprehend Korean sentence structures, specific meanings, grammar rules correctly. This is because 1) The meanings of Korean guessing expression vary. For example, there are 5 different meanings of the ‘-(으)ㄴ/는 /(으)ㄹ 것같다 structure, 2) The sentence structures of Korean guessing expression are different while the specific meanings are similar. For instance, both ‘-(으)ㄴ/는 /(으)ㄹ 것같다’ ‘-(으)ㄴ가/나 보다’ and ‘-(으)ㄴ/는/(으)ㄹ 모양이다’ refer to an indirect guess and a guess which transforms subjective into objective, and 3) The sentence structures of Korean guessing expression are strictly defined. As an illustration, in case of an uncertain guess, the only sentence structure which can be used are ‘-(으)ㄴ/는/(으)ㄹ 지(도) 모르다’ In addition, the word ‘혹시’ (“unsure”) is commonly used since it means unclear.
2. Thai learners’ errors in using Korean guessing expressions result from the influence of leaners‘ mother tongue. That is to say, the sentence structures of the guessing expression in Thai and Korean are different. Thai sentence structures are mainly be used according to speakers. They could refer to future, intention, certainty, uncertainty, possibility, etc. These sentence structures are extensively used in both written and spoken languages (Kanchana Sahaviriya, 2016:24). On the contrary, Korean guessing expressions are distinctively defined by the meanings of the sentence structures. This incongruity could lead to confusion in using sentence structures in each situation. For example, in case of future prediction, due to the fact that Thai guessing expressions are not classified by experience of speakers, Thai learners might incorrectly assume that, in case of inexperienced speakers, a Korean expression for an unclear guess can be used.

According the results, this study suggests the teaching methods of Korean guessing expressions for Thai learners as follows: 1) The Rule of Context, 2) The Rule of Use, 3). The Rule of Relevance, and 4) The Rule of Economy.

Keywords: Guessing Expressions, Korean, Thai learners


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.35

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus