ความเชื่อในประเพณีส่งเภา ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
Abstract
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อในประเพณีส่งเภาของ ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้รู้ ผู้อาวุโสและคนวัยทำงานในตำบลตะเครียะ ผลการวิจัยพบว่า ชาวตะเครียะตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำและทะเลสาบสงขลา จึงประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน และทำนาซึ่งต้องอาศัยน้ำจากธรรมชาติเป็นหลัก โดยเฉพาะการทำประมงพื้นบ้านต้องประสบกับภัยธรรมชาติ สร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน บางครั้งการทำนาต้องประสบกับภัยจากลมพายุตลอดจนโรคระบาดสร้างความเสียหายให้พืชผล เมื่อไม่สามารถเอาชนะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติได้ จึงต้องหาที่พึ่งทางใจด้วยการผูกโยงความเชื่อว่า พระแม่คงคา พระแม่ธรณี สามารถดลบันดาลให้ผลผลิตเกิดความอุดมสมบูรณ์ได้ ส่วนผีเจ้าที่ เจ้าทาง ผีบรรพบุรุษ จะคอยปกป้องคุ้มครองชาวตะเครียะให้มีความอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและภัยอันตรายที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ชาวตะเครียะ จึงจัดประเพณีส่งเภาทุกปีโดยทำแพเล็กๆ แล้วใส่เสบียงอาหารแห้ง ลอยไปในทะเล เพื่อตอบแทนบุญคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ อีกทั้งยังเป็นการลอยทุกข์โศกสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากชีวิต
คำสำคัญ: ความเชื่อ, ส่งเภา, ตะเครียะ
The purpose of this study was to investigate beliefs in the tradition of “Song Phao” in Takhria Sub-district, Ranot District, Songkhla Province, Thailand. The data of this qualitative study were collected through in-depth interviews with knowledgeable persons, the elderly and working-age people in Takhria Sub-district. It was found that Takhria locals live near a river and Songkhla Lake, therefore, their main occupations are native fishing and rice farming for which they have to depend mainly on rainwater. In doing native fishing, they often encounter natural disasters that cause losses of lives and properties while rice farming is sometimes damaged by storms; and outbreaks of epidemic diseases damage their crops. When they cannot defeat such natural disasters, they have to seek a refuge of the mind by associating themselves with the beliefs that the Goddess of Water and the Goddess of Earth make their crops fertile. Likewise, guardian spirits and ancestral spirits are believed to protect Takhria locals and provide them with well-being without illnesses and harmful happenings. Therefore, Takhria locals hold the tradition of “Song Phao” every year by making small rafts and offering dried food to thank these sacred goddesses and spirits and to float away sufferings and misfortune.
Keywords: beliefs, Song Phao, Takhria
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.12
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus