การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ผ่านการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

ชลาธิป สมาหิโต

Abstract


ช่วงทศวรรษที่ผ่านมานวัตกรรมและการพัฒนาทางเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ครูผู้สอนจะต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่เด็กในระดับปฐมวัย ซึ่งทักษะเหล่านั้น ได้แก่ ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ทักษะการสืบค้นข้อมูล ทักษะการสื่อสาร และทักษะการแก้ปัญหา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นการสอนวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดทักษะดังกล่าว ซึ่งในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรจัดให้มีความเหมาะสมกับพัฒนาการการเรียนรู้และความสนใจของเด็ก

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยสนใจนิทาน เมื่อใช้นิทานเป็นเครื่องมือในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจะมีขั้นตอนเริ่มต้นจากกำหนดประเด็นปัญหาจากนิทานให้เด็กร่วมกันอภิปราย วิเคราะห์ปัญหา ประมวลความรู้และประสบการณ์เดิม เพื่อวิเคราะห์หาข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ปัญหา แล้วทำการสืบค้นข้อมูลและเลือกวิธีการแก้ปัญหา ขั้นตอนสุดท้ายเป็นขั้นที่เด็กอธิบายและนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาโดยการเล่าให้เพื่อนฟังหรือวาดภาพหรือประดิษฐ์ชิ้นงานเพื่อแสดงถึงวิธีการแก้ปัญหา

คำสำคัญ: การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, เล่านิทาน, เด็กปฐมวัย

 

For the past generation, technological inventions and improvements seem to be introduced rapidly. The trend continues. Therefore, the teachers must provide learning experiences to prepare the students to possess the essential skills for learning in the 21st century skills including: teamwork, research gathering, strong communication, and problem solving. The problem-based learning experience provision is one of the teaching methods that support those skills. The problem-based learning experience provision for young children should be based on their learning developments and interests.

Young children are interested in stories. When stories are used as tools in problem-based learning experience, a problem is addressed. The children define the problem and determine what they know about the problem, background knowledge and experience, and what they need to learn more to solve the problem. Then search information and choose the best solutions. The last step is explaining and presenting the solutions to their classmates, or drawing pictures, or creating art work.

Keywords: Problem-Based Learning, story telling, young children


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.58

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus