การสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยกระบวนการจัดการความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม

ชมภูนุช หุ่นนาค, ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง, วรรณารัตน์ อัศวเดชาชาญยุทธ์

Abstract


การศึกษาการสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยกระบวนการจัดการความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนด ชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า ตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคของการสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยกระบวนการจัดการความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนด ชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า และ 3) เพื่อหาแนวทางในการสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยกระบวนการจัดการความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการความรู้ ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ของ Kucza และแนวคิดเกี่ยวกับชุมชนเข้มแข็ง รวมถึงการทำเกษตรอินทรีย์

ระเบียบวิธีวิจัยในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยรูปแบบการวิจัยเป็นแบบชาติพันธุ์วรรณนาและแบบกรณีศึกษา ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้นำและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ และนักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 15 คน

ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการจัดการความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า ได้แก่ (1) การระบุความต้องการของความรู้ มุ่งเน้นไปที่กระบวนการของการทำเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก (2) การคัดเลือกความรู้ เกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ กระบวนการคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การลงมือทำซ้ำๆ ร่วมกันของคนในชุมชน (3) การส่งมอบความรู้ มีการแบ่งปันความรู้ในโอกาสต่างๆ มีลักษณะไม่จำกัดรูปแบบ และไม่เน้นความเป็นทางการ (4) การสร้างความรู้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและสภาพบริบทของชุมชน โดยการลองถูกลองผิด การลงมือปฏิบัติจริง (5) การรวบรวมและจัดเก็บความรู้ พบว่า กลุ่มต้องพัฒนาการออกแบบสิ่งที่ใช้เก็บความรู้ (6) การปรับปรุงความรู้ เน้นการปรับปรุงความรู้ให้ทันสมัย มีการพัฒนาความรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการ 2) ปัญหา อุปสรรคของการสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยกระบวนการจัดการความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า ประกอบด้วย (1) การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน (2) องค์ความรู้ใหม่บางส่วนไม่สอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่ และแนวปฏิบัติบางประเด็นเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต (3) ขาดการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ อย่างจริงจัง (4) ขาดรุ่นลูกรุ่นหลานที่จะสานต่ออาชีพการเกษตร รวมถึง (5) การจัดการความรู้ขาดความเป็นระบบ 3) แนวทางในการสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยกระบวนการจัดการความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ มี 5 แนวทาง ได้แก่ (1) สร้างความตื่นรู้ และลุกขึ้นมาจัดการปัญหาของตนเอง (2) รวบรวมความรู้อย่างเป็นระบบ (3) พัฒนาคนในชุมชนด้วยการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ การเรียนรู้ และการฝึกอบรม (4) สร้างความรู้เชิงนวัตกรรม และ (5) จัดตลาดนัดความรู้

คำสำคัญ: การจัดการความรู้, ชุมชนเข้มแข็ง, การทำเกษตรอินทรีย์

 

The objectives of this research were to: 1) to study the knowledge management process in organic agriculture for the Ban Chanod Klongyong-Lantakfah, Lantakfah Sub-district, Nakhon Chaisi District, Nakhon Pathom Province Community Enterprise 2) to study the problems and obstacles of the making of the strengthen community with the knowledge management in organic agriculture for the Ban Chanod Klongyong-Lantakfah, Lantakfah Sub-district, Nakhon Chaisi District, Nakhon Pathom Province Community Enterprise, and 3) to study the way of the making of the strengthen community with the knowledge management process in organic agriculture from the application of knowledge management concept. This research was studied from the knowledge management of Kucza and the strengthen community concept in the organic agriculture.

The research methodology of this research was the qualitative research which is studied from the documents, concepts, the involved research, in-depth interview and participant observation. The patterns of this research were the ethnographic approach and case study approach and to collect the data with the in-depth interview from the 15 of leaders and members of the Klongyong-Lantakfah Community Enterprise, the government officers and scholars.

The results of this research showed that 1) the knowledge management process in organic agriculture of the Ban Chanod Klongyong-Lantakfah Community Enterprise consist of the (1) identification of need for knowledge-to specify the demand of knowledge and to emphasize the process of the organic agriculture as the main (2) knowledge pull-to select the experienced knowledge from the knowledge process, knowledge exchange and to frequently participate of the member in the community (3) knowledge push-the unofficial of the sharing the knowledge in every chance of the member in the community (4) creation of knowledge-to emphasize the development which was related with the fact and content of the community by the trial, the practicable (5) knowledge collection and storage-the community should develop to design something which was used to keep the knowledge 6) knowledge update-to emphasize the knowledge update currently and to develop the knowledge from the problems and demands. 2) Problems and obstacles of the strengthened community through on the knowledge management process in organic agriculture of the Ban Chanod Klongyong-Lantakfah Community Enterprise consist of the (1) the communication was not clear (2) some new knowledge was not related with the content of area and some regulation was made to add the capital of the production (3) without the support from the any organization absolutely (4) without the new generation in the agriculture (5) the knowledge management was not arranged systematically 3) The 5 of way for the making the strengthen community through on knowledge management process in organic agriculture, as follow; (1) to emphasize the solving the problems by themselves (2) to collect the data systematically (3) to give the chance to exchange the knowledge about learning and training (4) to make the innovative knowledge and (5) to arrange the knowledge market fair.

Keywords: knowledge management, strengthen community, organic agriculture


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.34

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus