พฤติกรรมเลียนแบบกับค่านิยมการสักของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร

รัฐกานต์ กัณพิพัฒน์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางด้านการเลียนแบบที่มีผลต่อค่านิยมการสักของวัยรุ่นหญิง รวมทั้งเพื่อเป็นการศึกษาถึงปัจจัยทางด้านการคบหาสมาคมกับบุคคลที่เคยสักมาก่อน และศึกษาถึงปัจจัยทางด้านสื่อที่มีผลต่อค่านิยมการสักของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีช่วงอายุระหว่าง 14-23 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้แก่ เขตพระนคร เขตจตุจักร และเขตบางกะปิ การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเลียนแบบและมีค่านิยมการสัก จำนวน 15 คน
ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยทางด้านการเลียนแบบส่งผลต่อค่านิยมและพฤติกรรมในการสักของวัยรุ่นหญิง กล่าวคือ การเลียนแบบนั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่วัยรุ่นหญิงได้มีการสังเกตพฤติกรรมการสักจากเพื่อน โดยที่เพื่อนเป็นตัวแบบในการลอกเลียนแบบพฤติกรรมดังกล่าว
นอกจากนี้ การเลียนแบบของวัยรุ่นหญิงยังเกิดจากการมีค่านิยมที่ชื่นชอบในการสักจากการไปคบหาสมาคมหรือปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือบุคคลรู้จักที่เคยสักมาก่อน ยิ่งมีการคบหาสมาคมถี่หรือบ่อยมากขึ้นเท่าใด  ยิ่งทำให้เกิดความชื่นชอบมากขึ้นเท่านั้น ความชื่นชอบดังกล่าวนี้ มีผลทำให้เกิดการเลียนแบบตามมา โดยสื่อที่ได้รับส่วนใหญ่มาจากรายการโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ ส่งผลให้วัยรุ่นหญิงเกิดการเรียนรู้ เกิดความชื่นชอบในรอยสัก เกิดการซึมซับ และเกิดแรงจูงใจ อีกส่วนหนึ่งซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมเลียนแบบการสักของวัยรุ่นหญิง ดังกล่าวมาแล้ว
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย แม้ว่าวัยรุ่นหญิงมีค่านิยมในการสักตามร่างกายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการสักเป็นสิ่งที่กระทำได้ง่าย นอกจากนั้น ยังได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยทางด้านการเลียนแบบและปัจจัยทางด้านสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบข้าง แต่กระนั้น ปฏิกิริยาสะท้อนกลับต่อการสักของวัยรุ่นค่อนข้างจะเป็นไปในเชิงลบ และไม่ค่อยจะเป็นผลดีต่อวัยรุ่นเหล่านี้นัก ทั้งในแง่ของการศึกษา การประกอบอาชีพในอนาคต ดังนั้น ผู้ปกครองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการปลูกฝังค่านิยมในการสักที่ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคม เพื่อให้วัยรุ่นหญิงสามารถปรับตัวและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงปลอดภัย และมีคุณค่าต่อสังคมต่อไป

This research investigated factors of imitation affecting values toward tattoos among female youth, the factors of their association with prior tattooed individuals, and the media factors affecting the attitudes toward tattoos for female youths aged 14-23 years old residing in Bangkok in the districts of Phranakhon, Jatujak and Bangkapi. This qualitative research was applied by conducting in-depth interviews with 15 female youths imitating tattoo behavior and favoring tattoos.
Results revealed that factors of imitation affected values and behaviors for tattoos among female youth were that the imitation was attempted after the young women noticed tattoos on friends, by having friends as the role models for such imitation.
In addition, female-youth imitation rose from also tattoo favoritism from association or interaction with prior friends or acquaintances. The more frequent the associations, the more favoritism surged. Such favoritism led to imitation. Most media viewed were TV programs and online media, which affected them to learn and favor tattoos. They absorbed and were motivated by their behavior of imitation.
Recommendations from the study: Owing to the female-youth favoring tattooing more, it was easy to be influenced by factors of imitation and the surrounding conditions. However, reactions to female-youth with tattoos are likely negative, and are unlikely to favor them, both in their education and future careers. Parents or officials involved should therefore try to cultivate the eligible values about tattooing and meting the authentic social situation that the female-youth should further be enabled to adjust themselves to firmly and securely allow them to lead their lives by being assets to society.

Full Text:

PDF

References


ชนิตร ภู่กาญจน์. (2539). ตำนานแห่งรอยสักศิลปะบนเรือนร่างของมนุษย์. วาสารศิลปวัฒนธรรม, 18(2), 168-170.

ชนิตร ภู่กาญจน์. (2540). ความหมายของรอยสักศรัทธาแห่งวิญญาณและศิลปะ. วาสารศิลปวัฒนธรรม, 18(3), 164-166.

ชาณคณิต กฤษยา สุริยะมณี. (2554). ทฤษฎีอาชญาวิทยาร่วมสมัยกับการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาในปัจจุบัน. นนทบุรี: หยินหยางการพิมพ์.

ชุมมาศ กัลยาณมิตร. (2530). ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติเกี่ยวกับการประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวัยของนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐพร พานิช. (2539). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับนักร้อง: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาวดี ธานีรนานนท์. (2540). การเปิดรับข่าวสาร การจดจำ และการเลียนแบบพฤติกรรมต่อต้านยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโครงการป้องกันยาเสพติดจัสท์เซย์โน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัญฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจมาน นิตย์ใหม่. (2550). รอยสัก: การสร้างอัตลักษณ์ที่ปรากฏบนเรือนร่างของตน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรชัย ขันตี และคณะ. (2543). ทฤษฎีและงานวิจัยทางอาชญาวิทยา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บุ๊คเน็ท จำกัด.

พรพิมล เจียมนาครินทร์. (2539). พัฒนาการวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คอมฟอร์ม.

รัตนา อรุณศรี. (2547). ประวัติศาสตร์สังคมสังเขปเรื่องการสักร่างกายมองในมิติของความสัมพันธ์ทางเพศสภาพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Adams, J. (2009). Marked Difference: Tattooing and its Association with Deviance in theUnited States. Deviant Behavior, 30(3), 266-292.

Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Fisher, A. J. (2002). Tattooing the Body, Marking Culture. Body & society 2002 SAGEPublications, 8(4), 91-107.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.29

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus