การบริหารการศึกษาแบบองค์การเฉพาะกิจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

เกศสุดา เนรมิตธนไพศาล, นพดล เจนอักษร

Abstract


การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารการศึกษาแบบองค์การเฉพาะกิจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารการศึกษาแบบองค์การเฉพาะกิจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา การวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องในการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 กำหนดองค์ประกอบ ขั้นตอนที่ 3 การหาแนวทางการบริหารการศึกษาแบบองค์การเฉพาะกิจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามชนิดประมาณค่า กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทนรองผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้างานหรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวม 255 คน จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 85 โรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการบริหารการศึกษาแบบองค์การเฉพาะกิจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 1) การบริหารการเปลี่ยนแปลง 2) กลยุทธ์การมีส่วนร่วมข้ามกลุ่มงาน 3) สร้างโอกาสการเป็นผู้นำ 4) การประเมินความสำเร็จ 5) เอกภาพในการปฏิบัติหน้าที่ 6) ทีมงานสร้างสรรค์ 7) การสร้างแรงจูงใจ 8) การบริหารนวัตกรรม 9) การคิดนอกกรอบ 10) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย 11) การสร้างคลังสมอง และ 12) ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ
2. แนวทางการบริหารการศึกษาแบบองค์การเฉพาะกิจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีจำนวนทั้งหมด 180 แนวทาง

คำสำคัญ: องค์การเฉพาะกิจ, การบริหารการศึกษาแบบองค์การเฉพาะกิจ

 

This research was designed as a mixed methodology based on qualitative and quantitative research. The research objectives were 1) to analyze the factors of adhocracy educational administration in basic educational schools under the Office of Secondary Educational Service Area, and 2) to propose the guideline of adhocracy educational administration in basic educational schools under the Office of Secondary Educational Service Area. The research was comprised of 3 procedures as follows; firstly, to find out the relevant variables in the research, secondly to determine factors, thirdly to develop guideline of adhocracy educational administration in basic educational schools under the Office of Secondary Educational Service Area. The instruments used for data collection were a five-point rating scale questionnaire. The sample of this research included a school administrator, a deputy school administrators or person in charge, and a supervisorial teacher or a teacher head of subject department, in total of 255 respondents from 85 secondary schools under the Office of Basic Education Commission. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and exploratory factor analysis.

The finding of this study were as follows;
1. The adhocracy educational administration in basic educational schools under the Office of Secondary Educational Service Area were comprised of 12 factors as follows; 1) change management, 2) strategy of cross functional participation, 3) opportunity enhancement for leader, 4) success evaluation, 5) unity of functional operation, 6) creative teamwork, 7) job motivation, 8) innovation management, 9) lateral thinking, 10) use of updated information technology, 11) think tank initiative, and 12) ad hoc committee appointment).
2. There were 180 guidelines of adhocracy educational administration in basic educational schools under the Office of Secondary Educational Service Area.

Keywords: adhocracy, adhocracy educational administration


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.7

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus