การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

ทศพร มนตรีวงษ์, ดาวรุวรรณ ถวิลการ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำครูและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.959 จากกลุ่มตัวอย่างครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 500 คน ดำเนินการโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นแยกตามสัดส่วนจำนวนครูของโรงเรียนมาตรฐานสากลแต่ละแห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิงด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 16.0 สำหรับการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม Mplus 7.0 สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยมีผลการวิจัย ดังนี้

1. ภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” และเมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับ “มาก” โดยเรียงจากสูงไปต่ำดังนี้ การเป็นแบบอย่างทางการสอน การพัฒนาตนเอง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาเพื่อนร่วมวิชาชีพ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
2. การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยได้ค่าวัดระดับความสอดคล้อง คือ X2=105.635, df=87, P-Value=0.085, TLI=0.996, CFI=0.998, RMSEA=0.021, และ SRMR=0.018 โดยมีค่าของน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ และมีค่าอยู่ระหว่าง 0.870 ถึง 0.995 เรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้ การพัฒนาเพื่อนร่วมวิชาชีพ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การมีส่วนร่วมในการพัฒนา การเป็นแบบอย่างทางการสอน การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ การพัฒนาตนเอง มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.995, 0.927, 0.910, 0.906, 0.900 และ 0.870 ตามลำดับ และแต่ละองค์ประกอบมีค่าความเที่ยง คิดเป็นร้อยละ 99.0, 85.9, 82.9, 82.1, 80.9 และ 75.7 ตามลำดับ

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำครู, โรงเรียนมาตรฐานสากล, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

 

The objectives of this research were to study the level of teacher leadership and analyze confirmatory factors in the teacher leadership in the World-Class Standard School, The Office of Secondary Educational Service Area 28. The research instrument was a questionnaire with 5 rating scale and 0.959 reliability. The sample of 500 teachers from the World-Class Standard School, The Office of Secondary Educational Service Area 28 was selected by random sampling and stratified by the ratio of the number of teacher in each World-Class Standard School. and Analyzed data by using descriptive research and inferential statistics. The programs used for analyzing data were SPSS version 16.0 and Mplus version 7.0. The findings were

1. The level of teacher leadership in the World-Class Standard School, The Office of Secondary Educational Service Area 28, overall was in ‘high’ level and considered from each factors found that every factor was in ‘high’ level by ranking from being the role in teaching, self development, using child-centered instruction, being transformational leaders, colleague development and participation in development.
2. The results showed that the confirmatory factors in the teacher leadership in the World-Class Standard School, The Office of Secondary Educational Service Area 28 was perfectly filled with the empirical data. X2=105.635, df=87,
P-Value=0.085, TLI=0.996. CFI=0.998, RMSEA=0.021, and SRMR=0.018 and had the factor loading showed positive statistically significant difference at .01 level for every factor between 0.870 to 0.995. Ranking from colleague development, using child-centered instruction, participation in development, being the role in teaching, being transformational leaders, and self development which had the factor loading at 0.995, 0.927, 0.910, 0.906, 0.900, and 0.870 respectively. The percentage of reliability were 99.0, 85.9, 82.9, 82.1, 80.9, and 75.7 respectively.

Keywords: teacher leadership, World-Class Standard School, confirmatory factor analysis


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.22

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus