ภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักวิชาการที่ส่งผลต่อการบริการที่ดี ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์

ธีระศักดิ์ คำดำ, ดาวรุวรรณ ถวิลการ

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการและการบริการที่ดี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักวิชาการกับการบริการที่ดี 3) ศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักวิชาการที่ส่งผลต่อการบริการที่ดีในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักวิชาการ จำนวน 286 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS 17.0 หมายเลขทะเบียน 5068054 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักวิชาการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการมองการณ์ไกล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนการบริการที่ดีของนักวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการกับการบริการที่ดีพบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักวิชาการที่ส่งผลต่อการบริการที่ดี ได้แก่ ด้านการมองการณ์ไกล (X4) ด้านการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (X5) ด้านการมีความรู้สึกร่วมและเห็นคุณค่าของผู้อื่น (X1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.494 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ ร้อยละ 24.4

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำใฝ่บริการ, ร้อยแก่นสารสินธุ์, การบริการที่ดี, นักวิชาการ

 

The objectives of this research were to study: 1) The servant leadership and good service of academicians; 2) The relationship between the servant leadership and good service; and 3) The servant leadership that affect good service in the office of Roykaen Sarasin Primary Educational Service Area. The sample group consisted of 286 academicians selected by using the stratified sampling. Query scales questionnaires were used and SPSS 17.0 program Serial Number: 5068054 was used as the tool to analyze the data. The statistics, used for data analysis, included mean, standard deviations, the Pearson Correlation Coefficient, and the Stepwise multiple regression analysis.

The research results found that; as a whole, the servant leadership of academicians was at a high level. “Having vision” had the highest average, while “Providing good service by the academicians” was also high. Moreover, “Good interpersonal relations” received the highest average. By using the correlation coefficient, it was found that the relation was positive with a statistical significance at the level of .01. The traits of servant leadership exhibited by the academicians, that had an effect on good service, included the following: 1) “Vision” (X4), 2) “Listening to the opinions of others” (X5), and 3) “Common sense and seeing the values of others” (X1). The multiple correlations coefficient was 0.494 and coefficient forecast was 24.4 percent

Keywords: servant leadership, RoyKaen Sarasin, good service, academicians


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.45

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus