การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนรางวัลพระราชทานในจังหวัดขอนแก่น

ศิริวรรณ เต็มวงษ์, ดาวรุวรรณ ถวิลการ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนรางวัลพระราชทาน และวิเคราะห์องค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง 0.976 ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น จำนวนทั้งสิ้น 520 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 22 คน และครู จำนวน 498 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิงเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 16.0 และโปรแกรม Mplus 7.0

ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนรางวัลพระราชทานในจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ “มาก” และองค์ประกอบด้านภาวะผู้นำด้านคุณภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด โมเดลการวัดของวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนรางวัลพระราชทานในจังหวัดขอนแก่น มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่าวัดระดับความสอดคล้อง คือ X2=264.938, df=230, P-value=0.057, CFI=0.996, TLI=0.995, SRMR=0.022 และ RMSEA=0.017 โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ และมีค่าอยู่ระหว่าง 0.800 ถึง 0.995 เรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมุ่งเน้นผู้รับบริการ ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านคุณภาพ ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู ด้านภาวะผู้นำด้านคุณภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร และด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.955, 0.950, 0.892, 0.888, 0.844, 0.836 และ 0.800 ตามลำดับ และแต่ละองค์ประกอบมีค่าความเที่ยงในการวัดน้ำหนักองค์ประกอบ คิดเป็นร้อยละ 91.2, 90.3, 70.6, 78.9, 71.2, 69.9, 64.0 ตามลำดับ

คำสำคัญ: การวิเคราะห์องค์ประกอบ, วัฒนธรรมคุณภาพ, โรงเรียนรางวัลพระราชทาน

 

The objectives of this descriptive research were to study the level of quality culture and analyze the factors of quality culture of royal awarded school on secondary in Khon Kaen province. A tool used for data collection was a questionnaire included five-level rating scale. The reliability coefficient of 0.976 was computed. Data was collected from administrators and teachers in the royal awarded school on secondary in Khon Kaen province. The samples consisted of 520 included 22 administrators and 498 teachers by using stratified random sampling. Descriptive and inferential statistical were used to analyze the confirmatory factor analysis were performed with SPSS 16.0 and Mplus 7.0 program.

The results showed that:
The average value of quality culture in the royal awarded schools was in “High” level and the highest average value of Leadership of aspect quality. Congruence of the measurement model of quality culture with the empirical data was confirmed by consistency value including X2=264.938, df=230, P-value=0.057, CFI=0.996, TLI=0.995, SRMR=0.022 and RMSEA=0.017. Every factor loading had a significance level at .01 and the value of each factor loading was in between 0.800 to 0.995. The factors were arranged from the highest to the lowest factor loading value followed these aspects; Teamwork, Focus on service recipients, Strategic management of aspect quality, Teacher professional development, Leadership of aspect quality, Participation of personnel and Continuous improvement with factor loading values 0.955, 0.950, 0.892, 0.888, 0.844, 0.836 and0.800 respectively and the percentage of reliability value of each factor was 91.2, 90.3, 70.6, 78.9, 71.2, 69.9 and 64.0 respectively.

Keywords: factor analysis, quality culture, royal awarded school


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.43

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus