ปัจจัยและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นหญิงในสถาบันอาชีวศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา

อังสุมาลิณ จันทรมณี, สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์, จุฑารัตน์ สถิรปัญญา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross Sectional Descriptive Study) เพื่อศึกษาปัจจัยและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นหญิงในสถาบันอาชีวศึกษาจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาปัจจัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ นักศึกษาหญิงที่กำลังศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา จำนวน 1,310 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ นักศึกษาหญิงที่กำลังศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 894 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาปัจจัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นหญิงในสถาบันอาชีวศึกษาจังหวัดสงขลา พบว่า โดยภาพรวมในกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับปานกลาง (X_=0.63, S.D.=0.14) และกลุ่มที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับมาก (X=0.69, S.D.=0.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยหลัก พบว่า กลุ่มดื่มและไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีปัจจัยภายในตัวบุคคลอยู่ในระดับมาก (กลุ่มดื่ม X=0.68, S.D.=0.21 และกลุ่มไม่ดื่ม X=0.77, S.D.=0.21) ปัจจัยจากบริบททางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง (กลุ่มดื่ม X=0.57, S.D.=0.19 และ กลุ่มไม่ดื่ม X=0.64, S.D.=0.20) และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับปานกลาง (กลุ่มดื่ม X=0.63, S.D.=0.15 และ กลุ่มไม่ดื่ม X=0.66, S.D.=0.16) ปัจจัยรายด้าน พบว่า ทั้งกลุ่มดื่มและไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับปานกลางและมาก ปัจจัยรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางและมาก ยกเว้นข้อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นหญิงแสดงถึงความอ่อนแอและมีปัญหาที่พบว่า กลุ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับน้อย และข้อกฎหมายห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เด็กและเยาวชนอยู่ในระดับน้อยทั้งในกลุ่มดื่มและไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สำหรับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นหญิง พบว่า กลุ่มตัวอย่างเริ่มดื่มเมื่ออายุ 15 ปี ร้อยละ 31.32, อายุ 16 ร้อยละ 18.57 และอายุ 17 ปี ร้อยละ 17.00 อายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มดื่ม คือ 15.53 ปี (S.D.=1.87) สาเหตุที่ดื่มครั้งแรก คือ อยากลอง ร้อยละ 65.10 ความถี่ของการดื่ม น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน ร้อยละ 71.36 ปริมาณการดื่ม 1 หน่วย ร้อยละ 49.55 และ 2 หน่วย ร้อยละ 22.48 ปริมาณการดื่มเฉลี่ย 2.37 (X=2.37, S.D.=2.37) ประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดื่มมากที่สุด คือ เบียร์ ร้อยละ 56.38 และน้ำผลไม้ผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 48.99 แหล่งที่ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ ร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 57.61 และร้านขายของชำ ร้อยละ 53.24 ช่วงเวลาที่ดื่ม 18.01–24.00 น. ร้อยละ 84.79 โอกาสในการดื่ม คือ ในงานเลี้ยงสังสรรค์ ร้อยละ 70.92 งานวันเกิด ร้อยละ 57.16 และเทศกาลปีใหม่ ร้อยละ 52.46 สถานที่ดื่ม คือ บ้านพักของตนเอง ร้อยละ 49.45 และบ้านพักของญาติ/เพื่อน ร้อยละ 40.38 บุคคลที่ร่วมดื่ม คือ เพื่อน ร้อยละ 84.00

คำสำคัญ: ปัจจัยพฤติกรรม, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, วัยรุ่นหญิง

 

The objective of this cross sectional descriptive study was to explore factors and alcohol drinking behaviors among female adolescents in vocational schools in Songkhla Province. The subjects of 894 female vocational students were selected from all population units of female vocational students in Songkhla Province. The data were collected using a questionnaire tested for its content validity by three experts with the content validity indexes in the range 0.67-1.00 and the reliability value was 0.89. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation.

The results of the study revealed that the overall factor value of alcohol drinking among female adolescents in vocational schools in Songkhla Province was at a moderate level (X=0.63, S.D.=0.14) and that of the non-drinking group was a very high level (X=0.69, S.D.=0.14). When considered each of the main factors, it was found that the personal internal factor of the drinking and non-drinking groups was at high levels (drinking groups X=0.68, S.D.=0.21 and non-drinking groups X=0.77, S.D.=0.21); the social context factor was at a moderate level (drinking groups X=0.57, S.D.=0.19 and non-drinking groups X=0.64, S.D.=0.20) and cultural environment factor was at a moderate level (drinking groups X=0.63, S.D.=0.15 and non-drinking groups X=0.66, S.D.=0.16). For each aspect of the main factors, it was found that the drinking and the non-drinking groups were at moderate, and high levels. For each item of the factors, it was found that most of them were at the moderate, and high levels, except two items that were found to be at a low level among the drinking and the non-drinking groups which were alcohol drinking among female adolescents showing weakness and problems, and the law prohibiting sale of alcoholic drinks to children and youths.

For alcohol drinking behaviors among female adolescents, it was found that most of the subjects began drinking at the ages 15, 16, and 17, and at 31.32, 18.57, and 17.00 percent, respectively. The average age of first drinking was 15.53 years (S.D.=1.87); the reason for the first drinking was wanting to try alcohol (65.10 percent); the frequency of drinking less than once a month was 71.36 percent; the amount of 1 unit, and 2 units of drinking were 49.55 and 22.48 percent, respectively. The sources of alcoholic beverages were convenience stores and grocery stores at 57.61 and 53.24 percent, respectively. The drinking time for 84.79 percent of the subjects was between 18.01–24.00 hours. The drinking occasions were get-togethers, birthday parties and New Year Parties at 70.92, 57.16 and 52.46 percent, respectively. The drinking places were their own homes, relative’s or friend’s homes at 49.45 and 40.38 percent, respectively. The persons 84.00 percent of the subjects drank with were friends.

Keywords: behavioral factors, alcohol, female adolescences


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.31

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus