ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ภัสราภรณ์ อยู่มาก, โชติมา แก้วกอง

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยศิลปากร 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร 4) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากร 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และ 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ประกอบด้วย ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง จำนวน 319 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .954 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ มีค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก (X=3.713, S.D.=.437) 2) วัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อยู่ในระดับมาก (X=3.803, S.D.=.538) 3) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ มีระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (X=3.626, S.D.=.388) 4) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุของบุคลากร มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=3.081, p=.047) 5) ภาวะผู้นำ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.580, p=.000) 6) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.381, p=.000)

คำสำคัญ: องค์กรแห่งการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยศิลปากร, ภาวะผู้นำ, วัฒนธรรมองค์กร

 

The purposes of this research were 1) to study the level of staff leadership of Silpakorn University, Sanam Chandra Palace Campus, 2) to study the level of organizational culture, 3) to study the level of learning organization, 4) to compare learning organization distinguished by the personal data, 5) to study the relationship between staff leadership and learning organization, and 6) to study the relationship between organizational culture and learning organization. The sample size was composed of 319 academic support staffs of Silpakorn University, Sanam Chandra Palace Campus. The data were collected by a questionnaire with Cronbach’s alpha confidence of .954. The statistics used to analyze the data in this research were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance (ANOVA), Pearson product moment correlation coefficient with the level of statistical significance at .05.

The results of the research showed that 1) the staff leadership of Silpakorn University, Sanam Chandra Palace Campus were at a high level (X=3.713, S.D.=.437). 2) The organizational culture was at a high level (X=3.803, S.D.=.538). 3) Learning organization level of Silpakorn University, Sanam Chandra Palace Campus was at a high level (X=3.626, S.D.=.388). 4) The hypothesis testing indicated that different ages affected learning organization of Silpakorn University significantly (F=3.081, p=.047). 5) The staff leadership correlated with learning organization significantly in positive direction (r=.580, p=.000). 6) The organizational culture correlated with learning organization significantly in positive direction (r=.381, p=.000).

Keywords: learning organization, Silpakorn University, leadership, organizational culture


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.28

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus